ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับ ปานกลางในระยะฟื้นสภาพ

Factors related to health status of moderate traumatic brain Injury patients in rehabilitation phase

Authors

  • พรจันทร์ สุวรรณมนตรี
  • เขมารดี มาสิงบุญ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Keywords:

บาดแผลและบาดเจ็บ, ผู้ป่วย, การดูแล, ศีรษะ, ศีรษะบาดเจ็บ

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของผู้ป่วย บาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลางในระยะฟื้นสภาพ โดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านเป็นกรอบแนวคิดพื้นฐาน ของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และญาติที่มารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกตามความสะดวก และตามคุณสมบัติที่กำหนด ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยและญาติกลุ่มละ 130 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึก ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะและญาติ แบบประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บร่วม แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของญาติในการดูแล ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ และแบบประเมินภาวะสุขภาพ ของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับปานกลางมีภาวะสุขภาพดี หรือมีการฟื้นสภาพมาก ในระยะก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (ค่าเฉลี่ย = 8.40) ความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ศีรษะ และการมีส่วนร่วมของญาติมีความสัมพันธ์ทางลบ ในระดับปานกลางและระดับต่ำกับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = - .380, r = - .266) และความรุนแรงของการบาดเจ็บร่วม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .288)  ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของการมีส่วนร่วมของญาติในการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บ ที่ศีรษะ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนผ่าน จากระยะวิกฤตสู่ระยะฟื้นสภาพและมีภาวะสุขภาพที่ดี ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ดังนั้นพยาบาลและทีมสุขภาพควรจัดให้มีโปรแกรมส่งเสริมให้ความรู้ และฝึกทักษะญาติในการมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยขณะ พักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยมีการฟื้นสภาพโดยเร็วที่สุด  The purpose of this descriptive correlational study was to examine factors related to health status of moderate traumatic brain injury patients in rehabilitation phase. Samples consisted of 130 moderate traumatic brain injury patients admitted in a traumatic unit, of Sawanpracharak Hospital, Nakhon Sawan Province and 130 family members of traumatic brain injury patients. Data were collected using the Demographic Data Record Form, the Injury Severity Score (ISS), the Family Participation Questionnaire and the Revised Disability Ratting Scale. Descriptive statistics and Pearson's Product Moment Correlation were used to analyze data. Results of the study showed that traumatic brain injury patients had good health status (average 8.40). Relationships between associated factors and health status were : a) the severity of brain injury and family participation bad moderate and low negatively significant relationship with health status at the level of .05 (r = - .380, r = - .266 consecutively), and b) the severity of multiple injury had low positively significant relationship with health status at the level of .05 (r = .288) Results of this study demonstrated that family participation is the important factor to improve the transition and health status of traumatic brain injury patients. Development a program that promotes family participation in care during hospitalization should be considered to improve health status of the traumatic brain injury patients.

Downloads

Published

2022-01-31