ประสบการณ์การได้รับการใส่สายระบายทรวงอกของผู้บาดเจ็บทรวงอก

The experiences of chest drainage of persons with chest trauma

Authors

  • ทิพรดา ประสิทธิแพทย์
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Keywords:

การพยาบาลผู้ป่วย, ทรวงอก, บาดแผลและบาดเจ็บ, ทรวงอกบาดเจ็บ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายประสบการณ์การได้รับการใส่สายระบายทรวงอของผู้บาดเจ็บทรวงอก โดยประยุกต์ใช้ระเบียบวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลจากผู้บาดเจ็บทรวงอก ที่ได้รับการใส่สายระบายทรวงอกแบบ เฉพาะเจาะจง จำนวน 12 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตามแนวทางของโคไลซี่ ผลการวิจัยพบว่าการให้ความหมายสะท้อน ให้เห็นว่าสายระบายทรวงอกเป็นสิ่งแปลกปลอมที่น่ากลัวแต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้รอดตาย ถึงแม้ว่าการใส่สายระบายทรวงอกจะช่วยให้รอดตายได้แต่ก็มีผลกระทบที่เกิดตามมา ได้แก่ความเจ็บปวด ความรำคาญ และความกังวลใจ ซึ่งการจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ การจัดการตามสาเหตุ การยอมรับสภาพที่เกิดขึ้น และการเบี่ยงเบนความสนใจ  การรับรู้การพยาบาลที่ได้รับว่าเป็นการ พยาบาลที่ดีคือมีการดูแลเอาใจใส่ดี สนองตอบความต้องการของผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว และมีการให้คำแนะนำในการปฏิบัติและดูแลตนเอง ส่วนความต้องการด้านการรักษาพยาบาล คือมีความต้องการ ให้แพทย์และพยาบาลสอบถามความต้องการของผู้ป่วย และความต้องการได้รับข้อมูลด้านการรักษาพยาบาล  ผลการวิจัยในครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็น แนวทางในการประเมิน การวางแผนและให้กิจกรรม การพยาบาลที่ครอบคลุมแบบองค์รวม และสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของผู้ป่วยได้   The purpose of this qualitative research was to examine the experiences of chest drainage of persons with chest trauma. In-depth interviews were used to collect data. Twelve patients with chest trauma and chest drainage need were recruited by purposive sampling. Content analysis of Colaizzi guideline was used to analyze data.  The results revealed that the participants described the chest drainage as a serious foreign body and rescue device. The impacts of chest drainage were pain boredom and anxiety. The participants managed the impacts by managing the cause, acceptance and distracting.  Regarding the perception of received nursing care, this research revealed that good  nursing care was good taking care to patients, giving quick response to what patients needed, giving information for caring themselves. With reference to the needs of patients, they needed inquiries from their health care providers. In addition, the patients needed to get information of the treatment.  The results of this study can be applied to assess, plan, and implement holistic care that is appropriate to the problems and patiens' needs.

Downloads

Published

2022-01-31