อาการและกลุ่มอาการ : ความแตกต่าง การวิจัย และ การนำไปใช้

Symptom and symptom cluster : Difference, research, and utilization

Authors

  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Keywords:

กลุ่มอาการ, โรค, อาการของโรค

Abstract

อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของ ประสบการณ์ชีวิตมนุษย์ อาการเป็นการรับรู้ของบุคคลถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหรือการทำหน้าที่ คนส่วนใหญ่จึงคุ้นเคยกับคำว่า “อาการ” มาเป็นเวลานาน ซึ่งตรงข้ามกับคําว่า “กลุ่มอาการ” ที่เป็นแนวคิดใหม่ และหมายถึงการที่มีอาการอย่างน้อยสองอาการเกิดขึ้นร่วมกัน มีความสัมพันธ์กัน อาจจะมาจากสาเหตุเดียวกันหรือไม่ก็ได้ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกมองว่ากลุ่มอาการ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการอาการ ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดึงดูดความสนใจ เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับประสบการณ์อาการของบุคคล ทําให้เกิดคําถามเกี่ยวกับประสบการณ์อาการและการจัดการอาการอีกมากมาย และอาจทําให้สามารถ อธิบายผลการวิจัยที่ขัดแย้งกันได้ อย่างไรก็ตามการที่จะทําให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน ยังต้องการการวิจัยอีกมาก เช่น การวิจัยลักษณะของกลุ่มอาการกลไกการเกิดของกลุ่มอาการผลของกลุ่มอาการ การประเมินกลุ่มอาการและการจัดการกลุ่มอาการ เป็นต้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ นักวิจัยที่สนใจเกี่ยวกับการจัดการอาการ ได้ทําการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการ การบูรณาการความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มอาการเข้ากับการจัดการอาการที่มีอยู่ จะเป็นประโยชน์ต่อการ จัดการกลุ่มอาการต่อไป  Symptoms are ordinarily human experience. A symptom was defined as a subjective perception of an alteration in bodily process or function. Most people are familiar with the term symptom’. In contrast, symptom cluster is a new concept which was defined as at least two concurrent and related to symptoms, that may or may not have a common etiology, occurring at the same time. Researchers and clinicians view ‘symptom cluster’ as a shifting paradigm of symptom management research. This shift is attractive because it aligns with the reality of the person experiencing symptoms, leads to several questions about the symptom experience and symptom management, and possibly explains some contradictory findings obtained in previous research. Because symptom cluster is a new concept, a great deal of research is needed in order to clearly understand characteristics of symptom cluster, common underlying mechanisms, effects of symptom cluster, and symptom cluster assessment as well as intervention. The purpose of this article is to encourage nurse researcher who are interested in symptom management to conduct research for generating knowledge related to symptom cluster. Integration of an understanding of symptom cluster would be beneficial for the effectiveness of existing symptom management intervention.

Downloads

Published

2022-01-31