ผลของแผนการจำหน่ายแบบสหสาขาวิชาชีพต่อความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลระยอง

Effects of the Collaborative Discharge Planning on Functional Independence of Patients with Embolic or Thrombotic Stroke at Rayong Hospital

Authors

  • นิ่มนวล ชูยิ่งสกุลทิพย์
  • อาภรณ์ ดีนาน
  • วัลภา คุณทรงกียรติ
  • นฤมล ปทุมารักษ์

Keywords:

โรงพยาบาลระยอง, ผู้ป่วย, การดูแล, โรงพยาบาล, การรับและจำหน่ายผู้ป่วย. หลอดเลือดสมอง - - โรค - - ผู้ป่วย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ ความสามารถในการทํากิจกรรมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับแผนการจําหน่าย กับกลุ่มที่ได้รับการจําหน่ายตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีสาเหตุจากการอุดตันหรือตีบตัน ที่เข้ารับการรักษาครั้งแรกในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลระยอง ระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2548 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2549 จํานวน 70 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจํานวน 35 ราย ซึ่งได้รับการดูแลโดยได้รับแผนการจําหน่ายผู้ป่วย และกลุ่มควบคุม จํานวน 35 ราย ซึ่งได้รับการจําหน่ายตามปกติ ทําการวัดระดับความสามารถในการทํากิจกรรมของ ผู้ป่วยครั้งแรกภายใน 24 ชั่วโมงของการเข้ารับการรักษา และวัดครั้งที่สองเมื่อผู้ป่วยมาตรวจตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอกหลังจากจําหน่ายออกจากโรงพยาบาลนาน 1 เดือน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (Dependent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance)  ผลการวิจัยพบว่า  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับ แผนการจําหน่าย มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถ ในการทํากิจกรรมสูงขึ้น หลังได้รับแผนการจําหน่ายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับแผนการจําหน่าย มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถ ในการทํากิจกรรมสูงกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับการจําหน่ายตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสรุปว่า แผนการจําหน่าย ผู้ป่วยที่มีรูปแบบชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรมีการศึกษาถึงประสิทธิผลของแผนการจําหน่ายในระยะยาวต่อไป  The purpose of this study was to compare functional independence of embolic or thrombotic stroke patients admitted at medical units of Rayong Hospital. Within criteria, 70 patients were selected into 2 groups, 35 for an experimental group and 35 for a control group. Experimental group received the collaborative discharge planning care, whereas controlled group received regular discharge planning care. The controlled group was collected data and then the collaborative discharge planning care intervention was applied. Functional independence was measured within 24 hours of admission and one month later after discharge at Out-Patients-Department. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, dependent t-test, and Analysis of Covariance (ANCOVA).  The results showed that :  1. The functional independent scores of stroke patients who received collaborative- discharge planning care was significantly higher than before received collaborative-discharge  planning care (p<.05).  2. The functional independent scores of stroke patients who received collaborative-discharge planning care was significantly higher than those who received regular-discharge planning care (p<.05).  The findings of this study suggested that collaborative discharge planning care could  improve functional independence of stroke patients. Longitudinal study is recommended to evaluate long term effects of collaborative discharge planning care.

Downloads

Published

2022-01-31