ปัจจัยทำนายการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะของบุคลากรพยาบาลโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

Factors Predicting Nursing Practice following the Clinical Nursing Practice Guidelines for Urinary Catheterized Patients at Sawanpracharak Hospital

Authors

  • นารี ศรชัย
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ

Keywords:

โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์, การพยาบาลผู้ป่วย, ผู้ป่วย, การดูแล, พยาบาลกับผู้ป่วย

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ทํานายการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะของบุคลากรพยาบาล โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างจํานวน 172 ราย เก็บข้อมูลระหว่าง วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2549 โดยใช้แบบสอบถามคุณลักษณะของแนวปฏิบัติการพยาบาล ความสามารถในการปฏิบัติตาม แนวปฏิบัติการพยาบาล ทัศนคติต่อการใช้แนว ปฏิบัติการพยาบาล การสนับสนุนจากองค์กร และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะของบุคลากรพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะของแนวปฏิบัติการพยาบาล ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ ความสามารถในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล ทัศนคติต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล และการสนับสนุนจากองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของบุคลากร พยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = 0.28, 0.26, 0.25, 0.33 และ 0.35 ตามลําดับ, p < .05) ปัจจัยการสนับสนุนจากองค์กร ประสบการณ์การดูแล ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ และทัศนคติต่อการใช้ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ สามารถร่วมกันทํานายการปฏิบัติของบุคลากร พยาบาลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่คาสาย สวนปัสสาวะได้ร้อยละ 20 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (R2 = 201, p < .01) จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การนําแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ ควรให้ ความสําคัญกับปัจจัยดังกล่าว และผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถนําไปใช้วางแผนการพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรพยาบาลด้านการคิดวิเคราะห์ บุคลากรพยาบาลควรตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนา ตนเอง การมีทัศนคติที่ดี และการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ The purpose of this research was to study factors predicting nursing practice following the clinical nursing practice guidelines for urinary catheterized patients at Sawanpracharak hospital, Nakornsawan province. The samples consisted of 172 registered nurses. The data was collected from November 21, 2006 to December 21, 2006 using self-administered questionnaires. The instruments consisted of the characteristics of the clinical nursing practice guidelines questionnaire, Nursing Practice Competencies Scale, attitude toward the clinical nursing practice guidelines questionnaire and organizational support questionnaire. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and Stepwise multiple regression.  The findings showed that the characteristics of the clinical nursing practice guidelines, years of experience, nursing practice competencies, attitude toward the clinical nursing practice guidelines and organizational support were found to be statistically significant and positively related to nursing practice following the clinical nursing practice guidelines (r = 0.28, 0.26, 0.25, 0.33, 0.35 respectively, p < .05). The results also revealed that organizational support, years of experience and attitude toward the clinical nursing practice guidelines significantly predicted nursing practice following the clinical nursing practice guidelines at level of .01. The predictive power was 20 percents of the variance (R2 = .201, p < .01).  The findings suggested that implementation of the clinical nursing practice guidelines should consider those factors. Therefore, nurse administrators provide opportunities for nurses to enhance their competencies and positive attitude toward the clinical nursing practice guidelines. Nurses should realize the need to develop competencies, positive attitude and follow the clinical nursing practice guidelines for urinary catheterized patients.

Downloads

Published

2022-01-31