ผลของการนวดต่ออาการปวดศีรษะแบบไมเกรนเเละความสุขสบายในผู้ป่วยโรคไมเกรน

Effects of massage on migraine headache and comfort of patients with migraine

Authors

  • รจนา ปุณโณทก
  • นภาพร เอี่ยมละออ
  • กุณฑลี จริยาปยุกต์เลิศ
  • นิพนธ์ วรเมธกุล

Keywords:

การบำบัดด้วยการนวด, ปวดศีรษะ, ไมเกรน, ผู้ป่วย, ศีรษะ, การนวด

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดซ้ำ 2 ครั้ง คือหลังนวด 15 นาที และหลังนวด 30 นาที มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของการนวดต่ออาการปวดศีรษะแบบไมเกรน และความสุขสบายของผู้ป่วยไมเกรนใน 3 ครั้งของการปวดศีรษะแบบไมเกรน โดยศึกษาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความปวด ระหว่างก่อนนวด หลังนวด 15 นาที และ 30 นาที ส่วนความสุขสบายเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ระหว่างก่อนนวดและหลังนวด 30 นาที ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม และภายในกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไมเกรน 24 ราย เลือกแบบเจาะจง และใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายเข้าเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 12 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ มาตรวัดความปวดแบบตัวเลข 1-10 แบบวัดความสุขสบาย คู่มือการนวดตนเองเมื่อปวดศีรษะของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และแบบสัมภาษณ์การเปลี่ยนแปลงหลังการนวด วิธีทดลองประกอบด้วย 1) ผู้วิจัยฝึกให้กลุ่มตัวอย่างนวดตนเองตามคู่มือการนวด 2) ให้กลุ่มตัวอย่างนวดตนเองเมื่อเกิดอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนครั้งที่ 1 - 3 และแต่ละครั้งวัดความปวดก่อนนวดหลังนวด 15 นาที และ 30 นาทีตามลําดับ ส่วนความสุขสบายวัดเฉพาะก่อนนวดและหลังนวด 30 นาที วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบนิวแมน-คูลส์ ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มทดลองมีความปวดลดลง กว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังนวด 30 นาที ของการนวด เมื่อปวดศีรษะทั้ง 3 ครั้งอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 4.34, 6.69, และ 6.61 ตามลําดับ, p < .05) และความสุขสบายสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังนวด 30 นาที เฉพาะในการนวดครั้งที่ 3 (F = 5.17, p < .05).      2. กลุ่มทดลองมีความปวดในระยะหลังนวด 15 นาทีลดลงกว่าก่อนนวดอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ในการนวดเมื่อปวดปวดศีรษะแบบไมเกรนครั้งที่ 1 และ 2 (F=1.67 และ 1.56 ตามลําดับ) และในการนวดเมื่อปวดศีรษะแบบไมเกรนทั้ง 3 ครั้ง ความปวดในระยะหลังนวด 30 นาทีลดลงกว่าก่อนนวด (F = 3.50, 2.89 และ 4.00 ตามลำดับ, p<.05) และระยะหลังนวด 15 นาที (F = 1.83, 1.33 และ 2.50 ตามลำดับ, p < .05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความสุขสบายพบว่าในระยะหลังนวด 30 นาที สูงขึ้นกว่าก่อนนวด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในการนวดเมื่อปวดศรีษะแบบไมเกรน ครั้งที่ 1 และ 2 เท่านั้น (F = 25.77 และ 14.84  ตามลำดับ, p < .05)  จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การนวดวิธีที่กลุ่มทดลองใช้สามารถลดอาการปวดศรีษะแบบไมเกรนและสร้างความสุขสบาย ในผู้ป่วยไมเกรนได้ ในระยะหนังนวด 15-30 นาที การนวดจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการดูแลตนเองเพื่อการลดอาการปวดศรีษะแบบไมเกรน อาการร่วมและเสริมสร้างความสุขสบายของผู้ป่วยไมเกรนและเป็นบทบาทอิสระของพยาบาล This research is a quasi experimental design with repeated measurements, 15 minutes and 30 minutes measurement after massage. The purpose of this research was to study the effects of massage on migraine headache and comfort of patients with migraine in three times of migraine attack, comparison of pain at before, 15 minutes and 30 minutes after massage and comfort at before and 30 minutes after massage between experimental and control group and within experimental group. The 24 samples with migraine was recruited by purposive sampling and randomly assigned into two groups with 12 persons in each group. Visual Analoque Pain Scale, comfort questionnaire, handout of massage method of experimental and control group, and interviewing guideline of changing after massage were performed to collect the data. Experimental method consisted of 1) the researcher trained the samples to gain self massage skills followed by handout, 2) the samples massage themselves whenever they got a migraine for three times of the attack, and 3) pain was measured at before massage, 15 and 30 minutes after massage respectively and comfort was measure at before and 30 minutes after massage. Repeated ANOVA measurement and Newman-Keul's test were performed to analyze the data.  The results showed as follow : 1. There were statistically significant decreasing of pain with .05 level at 30 minutes after massage in experimental group more than control group across times of the migraine attack (F=4.34, 6.69, and 6.61, respectively, p<.05) and comfort at 30 minutes after massage in experimental group was statistically significant increased with .05 level more than control group in the third time of migraine attack only (F=5.17, p<.05).  2. Pain of the experimental group were statistical significance decreasing with .05 level at 15 minutes after massage more than before massage at the first and second time of migraine attack (F=1.67 and 1.56 respectively) and pain at 30 minutes after massage was statistically significant decreasing across times of massage at .05 level more than before (F=3.50, 2.89 and 4.00 respectively, p<.05) and 15 minutes after massage (F= 1.83, 1.33 and 2.50 respectively, p<.05). Comfort at 30 minutes after massage of experimental group was more increased than before massage at statistically significant of .05 level only in the first and second time of migraine attack. The results can be concluded that massage method which experimental group used can reduce migraine headache and enhance comfort in patients with migraine at 15 – 30 minutes after massage. Thus, massage method can be beneficial strategy for patients with migraine to use for releasing migraine headache and enhancing comfort. In addition, professional nurses can choose this method as a nursing intervention in nursing care as autonomous role.

Downloads

Published

2022-01-31