ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการอาการกำเริบสำหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังต่อสภาวะอาการหายใจลำบากจำนวนวันนอนและค่าใช้จ่ายในการรักษา

The Effectiveness of Clinical Practice Guideline in Management of Acute Exacerbation People with Chronic Obstructive Pulmonary Disease on Dyspnea Status, Length of Stay and Cost of Care

Authors

  • สรีพัชร์ แก้วดวงเทียน
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง
  • เขมารดี มาสิงบุญ
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ

Keywords:

ทางเดินหายใจ, โรค, ปอด, ผู้ป่วย, การดูแล, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง , สภาวะอาการหายใจลําบาก, ค่าใช้จ่ายในการรักษา, แนวปฏิบัติทางคลินิก

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษา ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการ อาการกําเริบสําหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ต่อสภาวะอาการหายใจลําบาก จํานวนวันนอนและค่าใช้จ่ายในการรักษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มารับ การรักษาที่โรงพยาบาลโคกสําโรง แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและพิจารณา ให้นอนรักษาในโรงพยาบาล จํานวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มละ 25 ราย โดยกําหนดให้ 25 รายแรกเป็น กลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการอาการกําเริบของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ตามวิธีปกติและกําหนดให้กลุ่มตัวอย่าง 25 ราย ต่อมาเป็นกลุ่มทดลอง ซึ่งจะได้รับการจัดการอาการกําเริบ ตามแนวปฏิบัติทางคลินิกในการจัดการอาการกําเริบ สําหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ผู้วิจัย และทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกันพัฒนาขึ้น ทําการวัดผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก ในการจัดการอาการกําเริบสําหรับผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ด้วยแบบวัดสภาวะอาการหายใจลําบากและแบบบันทึกจํานวนวันนอนและค่าใช้จ่ายในการรักษาสถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า หลังสิ้นสุดการทดลอง กลุ่ม ทดลองที่ได้รับการจัดการอาการกําเริบตามแนวปฏิบัติ ทางคลินิกและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการอาการกําเริบตามวิธีปกติ มีสภาวะอาการหายใจลําบาก ลดลงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มที่ได้รับการจัดการอาการกําเริบตามแนวปฏิบัติ ทางคลินิกมีจํานวนวันนอนรักษาในโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับ การจัดการอาการกําเริบตามวิธีปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The quasi-experimental research, two-groups pre-post test design, was conducted to determine the effectiveness of clinical practice guideline in management of acute exacerbation people with chronic obstructive pulmonary disease (COPD) on dyspnea status, length of stay and cost of care. Fifty people with COPD attending at Khoksamrong Hospital were randomized to experimental group in management of acute exacerbation, people with COPD which was developed by multidisciplinary team (intervention group, n=25) or to usual care (control group, n=25). Dyspnea Visual Analogue Scale was used to measurement dyspnea status. Length of stay and cost of care were recorded in information sheet. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and t-test. After Study clinical practice guideline in management of acute exacerbation, people with chronic obstructive pulmonary disease had significantly decreased dyspnea status scores. The intervention group had significantly decreased dyspnea status scores more than the control group (p<.05). The intervention group also had significantly decreased length of stay (p<.05) and cost of care more than the control group (p<.05).

Downloads

Published

2022-02-17