ประสบการณ์ การกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Experience in rehospitalization of the persons with chronic obstructive pulmonary disease

Authors

  • พิมลพรรณ เนียมหอม
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Keywords:

ปอด, ผู้ป่วย, การรักษา, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อาการเหนื่อยหอบ

Abstract

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสบการณ์การกลับเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาล ของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเกี่ยวกับความหมาย ปัจจัย และผลที่ตามมาจากการกลับเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาล ทําการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก เป็นเพศชาย จํานวน 10 ราย มีอายุระหว่าง 52-87 ปี ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการจดบันทึกภาคสนาม การวิเคราะห์เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ใช้เวลาในการเก็บรวบรวม ข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน-เดือนสิงหาคม พ.ศ.2549  ผลการวิจัยพบว่า ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ให้ความหมายของการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลไว้ 2 ลักษณะ คือ การได้รับการดูแลและการรอคอย ซึ่งการได้รับการดูแลประกอบด้วยการได้ รับการดูแลจากบุคลากรทางสุขภาพและการได้รับการ ดูแลจากครอบครัว โดยปัจจัยที่ทําให้ต้องกลับเข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลมีอยู่ 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยกระตุ้นที่ทําให้เกิดอาการเหนื่อยหอบ ความรุนแรงของอาการเหนื่อยหอบ กลัวตาย และความต้องการให้แพทย์ช่วยรักษา ซึ่งปัจจัยกระตุ้นที่ทําให้เกิดอาการเหนื่อยหอบ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ อาการไอ สภาพแวดล้อม และการทํากิจกรรม สําหรับความรุนแรงของอาการเหนื่อยหอบจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ หายใจไม่ออกและหมดสติ สําหรับผลที่ตามมา ของการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การหาย/บรรเทาจากการเจ็บป่วย และการปรับตัวกับสภาพที่เป็นอยู่ ซึ่งการปรับตัว กับสภาพที่เป็นอยู่นั้นจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการทําใจยอมรับกับสภาพที่เป็นอยู่ ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทําให้เกิด อาการเหนื่อย การปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจําวัน และการจัดการกับอาการเหนื่อยหอบที่เกิดขึ้น ซึ่งการจัดการกับอาการเหนื่อยหอบที่เกิดขึ้นจะมีอยู่ 4 อย่าง คือ การใช้ยา การใช้ออกซิเจน การนั่งพัก และการหายใจลึก ๆ ยาวๆ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการลดการกลับเข้า รับการรักษาของผู้ที่เป็น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้อย่างมีคุณภาพต่อไป  The purpose of this qualitative research was to study experience in rehospitalization of the persons with chronic obstructive pulmonary disease in related to meaning, factors, and results of the rehospitalization. Purposive sampling was used to select persons with chronic obstructive pulmonary disease admited in the tertiary hospital in Phitsanuloke province. Ten males age between 52-87 years were the participant. The indept interview, non participant observation, and field note were used to collect data between April to August 2006.  The findings revealed that meaning of rehospitalization for the persons with chronic  obstructive pulmonary disease was to receive care and waiting. Receive care consisted of receive care from health care provider and family. Four factors led to rehospitalization  were dyspnea stimulating factors, severity of dyspnea, fear of dead, and need for doctor treatment. Three types of dyspnea stimulating factors were symptom of cough, environment  and activity. Severity of dyspnea were suffocated and unconscious. Results of rehos-pitalization were decrease in or recover from illness and self-modification. Self-modification  consisted of behavior modification and mind modification. Behavior modification could be performed in term of dyspnea stimulating factor avoidance, routine daily modification and dyspnea management. Dyspnea management was comprosed of medication use, oxygen use, rest, and deep breathing. Results can be used to reduce rehospitalization of the persons with chronic obstructive pulmonary disease.

Downloads

Published

2022-02-17