การรับรู้ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในคลินิคของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

The nursing students' perceptions of the clinical learning environment, faculty of nursing, Burapha University

Authors

  • พิริยา ศุภศรี
  • ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต
  • วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์

Keywords:

มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะพยาบาลศาสตร์, นักศึกษาพยาบาล, การพยาบาล, การศึกษาและการสอน, สภาพแวดล้อม, การเรียนรู้ในคลินิก, การเรียนรู้

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการรับรู้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ในคลินิกของนักศึกษา พยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 98 คน ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ณ ห้องคลอดในโรงพยาบาลของรัฐ 4 แห่ง ในรายวิชาปฏิบัติการดูแลสุขภาพมารดา-ทารกแรกเกิดปกติและ ครอบครัว ภาคการศึกษาที่ 1/2548 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในคลินิกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดของซาริโค สคิและคณะ (Saarikoski, Isoaho, Leino-Kilpi, & Warne, 2005) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .97 ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาพยาบาลรับรู้ว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในคลินิก โดยรวมมีคุณภาพในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 3.96, SD = .47) และเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านก็พบว่ามีคุณภาพในระดับดีทุกด้าน ได้แก่ บรรยากาศในหอผู้ป่วย (ค่าเฉลี่ย = 3.80, SD = .50) ภาวะผู้นําของหัวหน้าหอผู้ป่วย (ค่าเฉลี่ย = 4.02, SD = .53) แนวคิด/หลักการให้การพยาบาลในหอผู้ป่วย (ค่าเฉลี่ย = 3.79, SD = .61) แนวคิด/หลักการการเรียนรู้ในหอ ผู้ป่วย (ค่าเฉลี่ย = 3.89, SD = .75) สัมพันธภาพการนิเทศระหว่างอาจารย์ กับนักศึกษาพยาบาล (ค่าเฉลี่ย = 4.07, SD = .62 ) และสัมพันธภาพระหว่างครูพี่เลี้ยง / ครู คลินิกกับนักศึกษาพยาบาล (ค่าเฉลี่ย = 4.15, SD = .64) การที่สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในคลินิกของนักศึกษา พยาบาลมีคุณภาพในระดับดีนั้นเป็นผลจากปัจจัยหลายประการ แต่ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา น่าจะเป็นผลจากนโยบาย ของคณะพยาบาลศาสตร์ที่เกี่ยวกับการสร้างเครือข่าย พันธมิตรกับแหล่งฝึกประสบการณ์ชีพที่อยู่บนพื้นฐาน ของความนับถือและเป็นประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งผลของโครงการครูพี่เลี้ยง ดังนั้นจึงควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับคณะพยาบาลศาสตร์ และคุณภาพของสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ใน คลินิกของนักศึกษาพยาบาลต่อไป  The purpose of this study was to examine the perceptions of clinical learning environments of nursing students from the Faculty of Nursing at Burapha University. The population were a group of 98 third-year nursing students who practiced in delivery rooms in four government hospitals as part of the course of Practicum of Health Care for Well Maternal-Newborn and Family in the first trimester of 2005. Data was collected by using the Clinical Learning Environment Questionnaire which was developed by researchers based on the conceptual framework of Saarikoski and colleagues (2005). Its reliability yielded a Cronbach's alpha of .97.  The study findings revealed that the nursing students perceived their clinical placements as being good overall (average = 3.96, SD = .47). In addition, the students perceived all dimensions of clinical environments as being good as well. They included : ward atmosphere (average = 3.80, SD = .50) ; leadership styles of the bead wards (average = 4.02, SD = .53); basis of nursing on the ward (average = 3.79, SD = .61) ; basis of learning on the ward (average = 3.89, SD = .75) ; supervisory relationship between instructors and students (average = 4.07, SD = .62) ; and supervisory relationship between preceptors, registered nurses and students (average = 4.15, SD = .64). The result of this study shows that the quality of clinical placements is good which may be the result of many factors. The factors related to Nursing Faculty, Burapha University, are possibly a policy of good collaboration between the Faculty of Nursing and clinical placement which is based on the respect and win-win situations and the outcome of the Preceptor Project. Further study of the relationship between the factors related to the Faculty of Nursing and the quality of clinical learning environment of nursing students is suggested.

Downloads

Published

2022-03-01