ผลของกระบวนการชุมชนต่อความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารและเจตคติต่อ สุขาภิบาลอาหารของผู้ประกอบการร้านอาหาร ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

The Effects of Community Process on Food Sanitation Knowledge and Food Sanitation Attitude among Food Shop Owners in Tambon Angsila, Maung, Chon Buri Province

Authors

  • สุธีญา บัวสุวรรณ
  • จันทร์ทิพย์ อินทวงศ์
  • นันท์มนัส บุญโล่ง
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ

Keywords:

ร้านอาหาร, ชลบุรี, สุขาภิบาลอาหาร, อาหาร, มาตรการความปลอดภัย, ผู้ประกอบการร้านอาหาร, กระบวนการชุมชน , ความรู้, เจตคติ

Abstract

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับ สุขาภิบาลอาหาร และเจตคติต่อสุขาภิบาลอาหารของ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ก่อนและหลังการใช้ กระบวนการชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการ ร้านอาหารจํานวน 50 คน ในตําบลอ่างศิลา อําเภอเมือง  จังหวัดชลบุรี เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง กันยายน 2549 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้ และเจตคติ ซึ่งมีความเชื่อมั่นใน ระดับสูง (α = .8484 และ = .7255 ตามลําดับ) และ กระบวนการชุมชนแบบมีส่วนร่วมขององค์กรต่างๆ ในชุมชน ประกอบด้วย กระบวนการที่ชุมชนกําหนด ขึ้นเอง การดําเนินงานที่นําไปสู่ความร่วมมือและมีส่วนร่วม ในการนํานโยบายสุขาภิบาลอาหารมา กระตุ้นเพื่อสร้างมาตรการในการควบคุมกํากับ การตรวจสอบดูแลสถานที่ประกอบและจําหน่ายอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลสุขาภิบาลอาหาร ความรู้ เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร เจตคติต่อสุขาภิบาลอาหาร ด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาล อาหาร และเจตคติต่อสุขาภิบาลอาหาร ก่อนและหลัง การใช้กระบวนการชุมชนโดยการทดสอบค่าทีแบบไม่ อิสระ (dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า  1. ความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร ของผู้ประกอบการร้านอาหาร ก่อนการใช้กระบวนการ ชุมชนผู้ประกอบการมีความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาล อาหารค่าเฉลี่ย 17.16 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.90) (จากคะแนน 0-20) หลังการใช้กระบวนการชุมชนมีค่าเฉลี่ยเพิ่มเป็น 19.28 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.51) ซึ่งค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลร้านอาหาร หลังการใช้กระบวนการชุมชนแตกต่างจากก่อนการใช้กระบวนการชุมชนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p  .05  2. คะแนนเจตคติรายข้อหลังใช้กระบวนการ ชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยก่อนการใช้ กระบวนการชุมชน เท่ากับ 2.69 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.31) (จากคะแนน 1-5) หลังการใช้ กระบวนการชุมชน ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.71 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.31) โดยค่าเฉลี่ยเจตคติ ต่อสุขาภิบาล อาหารหลังการใช้กระบวนการชุมชน ไม่แตกต่างจากก่อนการใช้กระบวนการชุมชนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ p  .05  การศึกษาวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการใช้ กระบวนการชุมชนแบบมีส่วนร่วมในเรื่องสุขาภิบาล อาหารต่อไป เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการให้ความรู้แก่ร้านอาหารที่ตั้งขึ้นใหม่  The purpose of this quasi experimental research was to compare food sanitation  knowledge and food sanitation attitude before and after the implementation of the community process. The sample included 50 food shop owners in Tambon Angsila, Mung, Chon Buri province. Data were collected by self directed questionnaires, Percentage, mean, standard deviation and dependent t-test were used to analyze data.  The results revealed that:  1. The mean score of food sanitation knowledge before the implementation was 17.16 (SD = 1.90) (from 0-20) and after the implementation the mean score was 19.28 (SD = 1.51) The mean difference was statistically significant at p  .05  2. Score by item on attitude of food sanitation was increased. The mean score before the implementation was 2.69 (SD = 0.31) (from 1-5 score) and after the implementation the meal score was 2.71 (SD = 0.31) The mean difference was not statistically significant at p .05

Downloads

Published

2022-03-01