ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ อาหารหายใจลำบาก และความอ่อนล้า กับผลสำเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ

The relationship among weaning readiness, dyspnea, fatigue and successful weaning from mechanical ventilation

Authors

  • ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์

Keywords:

การหายใจลำบาก, การพยาบาลผู้ป่วย, เครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วย, การดูแล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ ความรู้สึกของผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการ หายใจลําบากและความอ่อนล้า กับผลสําเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย ที่ได้รับการรักษาในไอซียูอายุรกรรม ไอซียศัลยกรรม โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา มีอาการคงที่ มีระดับความรู้สึกตัวดี ใช้เครื่องช่วยหายใจมามากกว่า 3 วันและแพทย์วางแผนที่จะหย่าเครื่องช่วยหายใจ จํานวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้สึกของผู้ป่วยเกี่ยวกับ อาการหายใจลําบาก (dyspnea) แบบวัดความรู้สึก ของผู้ป่วยเกี่ยวกับความอ่อนล้า (fatigue) และแบบประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจของเบิร์น (BWAP)  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจํานวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่หย่าเครื่องช่วยหายใจสําเร็จ 45 คน  และกลุ่มที่หย่าเครื่องช่วยหายใจไม่สําเร็จ 9 คน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 50.83 ปี ระยะเวลาที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ เฉลี่ยเท่ากับ 17.53 วัน ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงเฉลี่ยเท่ากับ 98.72 คะแนนอาการหายใจ ลําบากเฉลี่ยเท่ากับ 37.01 คะแนนความอ่อนล้าเฉลี่ยเท่ากับ 38.08 และคะแนนความพร้อมในการหย่า เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ยเท่ากับ 13.89 สําหรับการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนระหว่างตัวแปรพบว่าอาการหายใจลําบาก และความอ่อนล้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสําเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p = -0.47, p < .01 ; p = - 0.38, p < .01) ส่วนความพร้อมในการ หย่าเครื่องช่วยหายใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผล สําเร็จของการหย่าเครื่องช่วยหายใจอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติ (p = 0.52, p < .01)  ข้อเสนอแนะผู้ป่วยควรได้รับการพิจารณา หย่าเครื่องช่วยหายใจทันทีที่พยาธิสภาพที่จำเป็นต้องใช้  เครื่องช่วยหายใจดีขึ้น ควรมีการประเมินความพร้อม ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องใน  ผู้ป่วยที่ได้รับการวางแผน ในการหย่าเครื่องช่วยหายใจก่อนทุกราย เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพื่อให้การหย่าเครื่องช่วยหายใจประสบความสําเร็จ  The purpose of this study was to investigate the relationships among weaning readiness, dyspnea, fatigue and successful weaning from mechanical ventilation. The samples were patients receiving long-term mechanical ventilation, more than 3 days, who  had a good level of consciousness. Weaning from mechanical ventilation was initiated by a physician's order. The total samples were 54 patients who were admitted to medical intensive care unit, surgical intensive care unit and medical unit at Chonburi Hospital and Somdetpraboromrachathavee Na Sriracha Hospital. The instruments for data collection consisted of demographic data record, assessment of dyspnea, assessment of fatigue, the Burns Wean Assessment Program (BWAP). The results revealed that 54 patients were divided in two groups ( 45 patients achieved successful weaning and nine patients did not achieve successful weaning) The average age of patients was 50.83 years, the average length of the time receiving mechanical ventilation was 17.53 days, the average oxygen saturation score was 98.72, the average dyspnea score was 37.01, the average fatigue score was 38.08, and the average Burns Wean Assessment Program score was 13.89. Spearman rank-order correlation coefficient between variables found that dyspnea and fatigue had a negative correlation to successful weaning from mechanical ventilation at a statistically significant level (= -0.47, p<.01;  = -0.38, p < .01). On the other hand, readiness for weaning (BWAP) had a positive correlation to successful weaning from mechanic ventilation at a statistically significant level ( = 0.52, p < .01).  These findings suggest that patients have immediate weaning from mechanical ventilation when the underlying pathological process is significantly reversed. Accurate assessment of the patient's readiness to wean from mechanical ventilation is important to determining when a patient is most likely to Successfully wean from mechanical ventilation. Accurate assessment of these factors has the potential to decrease the costs of weaning and successful weaning from mechanical ventilation.

Downloads

Published

2022-03-01