เจตคติต่อบรรยากาศการบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

Attitude towards Risk Management Climate and Risk Management Practice in Medication Error of Professional Nurses at Maharat Nakon Si Thamarat Hospital

Authors

  • สารนิติ บุญประสพ
  • จุฬาลักษณ์ บารมี
  • อารีรัตน์ ขำอยู่
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง

Keywords:

โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช, การบริหารความเสี่ยง, ยา, การบริหาร, พยาบาลวิชาชีพ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติ ต่อบรรยากาศการบริหารความเสี่ยง และการปฏิบัติ การบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานแผนก ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช จํานวน 216 คน ได้มาโดยการสุ่ม แบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย แบบสอบถามเจตคติต่อบรรยากาศการบริหาร ความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา แบบสอบถามการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา และแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหา และอุปสรรคในการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง ด้านความคลาดเคลื่อนทางยา ซึ่งมีค่าความเที่ยงของครอนบาค .74 และ .92 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD  ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลวิชาชีพมีเจตคดี ต่อบรรยากาศการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาด เคลื่อนทางยาโดยรวมอยู่ในระดับดี ส่วนการปฏิบัติ การบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ขั้นตอนการจัดการความเสี่ยงและการ ประเมินผลการจัดการความเสี่ยงอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง ส่วนขั้นตอนการค้นหา และการประเมินความเสี่ยง อยู่ในระดับปฏิบัติเป็นบางครั้ง พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทํางาน แตกต่างกันมีเจตคติต่อบรรยากาศการบริหารความเสี่ยงด้าน ความคลาดเคลื่อนทางยา และการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจําแนกตามขั้นตอน การบริหารความเสี่ยงพบว่ามีความแตกต่างกันในขั้นตอน การประเมินผลการจัดการความเสี่ยง พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนกที่แตกต่างกันมีการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยง ด้านความคลาดเคลื่อนทางยา โดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจําแนกรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติแตกต่างกันทั้ง 4 ขั้นตอน พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรม ด้านการบริหารความเสี่ยงมีเจตคติต่อบรรยากาศการบริหารความเสี่ยง ด้านความคลาดเคลื่อนทางยาดีกว่า และมีการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาบ่อยกว่า พยาบาลวิชาชีพที่ไม่เคยได้รับการอบรม  ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติการบริหาร ความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา ที่พบมากที่สุด 3 ด้าน คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ อ่านและแปลคําสั่งการใช้ยาได้ไม่ชัดเจน เพราะแพทย์เขียนด้วยลายมือที่อ่านยาก และการติดต่อสื่อสารปัญหาการใช้ยาระหว่างแพทย์ พยาบาลและเภสัชกร ด้านโครงสร้างของหน่วยงาน ได้แก่ ภายในหอผู้ป่วยมีเครื่องมือ ควบคุมการให้ยาอัตโนมัติจํานวนไม่เพียงพอและด้านบุคลากรพยาบาล ได้แก่ ภาระงานมาก และมีความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงาน  The purposes of this research were to study attitude towards risk management climate, risk management practice and problems and barrier of risk management practice in medication error of professional nurses at Nakon Si Thamarat hospital. The sample consisted of 216 professional nurses, stratified and simple randomly selected from those who worked in the inpatient and outpatient departments. The questionnaires, generated by the researcher, included attitude towards risk management climate questionnaire and risk management practice in medication error as well as the opened-end questions asking about problems and barriers for practice. The Chronbach's alpha reliability coefficients for the attitude towards risk management climate and risk management practice in medication error questionnaires were .74 and .92, respectively. Percentage, mean, standard deviation, independent t- test and one- way ANOVA were used for data analysis.  The study showed that professional nurses' attitude towards risk management climate in medication error was good. They frequently practiced risk treatment and evaluation processes while occasionally practiced in the identification of risk and the analysis of risk processes. Nurses with different experience were not different in attitude towards risk management climate and total score of risk management practice.  However, they differed in the evaluation of risk management process. Nurses working in different departments did not differ in attitude towards risk management climate and total score risk management practice. However, they differed in each process of risk management  practice.  Professional nurses trained in risk management had positive attitude towards risk management climate and practiced risk management more than untrained nurses. They  also practiced more than untrained nurses in the analysis of risk and evaluation processes, but did not differ in the identification of risk and the risk treatment processes. Problems and barriers for risk management in medication error practiced included unclear in reading and interpolating the prescription due to the physicians' hand writing, communication problems among physicians, nurses, and pharmacists, inadequate infusion or syringe pump, nurses’ high workload and burnout.

Downloads

Published

2022-03-01