ปัจจัยทำนายการเผชิญความเครียดของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ

Predictors of coping strategies among family members of patients with head injury

Authors

  • ดารารัตน์ ปานดี
  • วัลภา คุณทรงเกียรติ
  • เขมารดี มาสิงบุญ
  • วริยา วชิราวัธน์

Keywords:

การบริหารความเครียด, ผู้ป่วย, การดูแล, ความเครียด, การเผชิญความเครียด , ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ, สมาชิกในครอบครัว

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ทํานายการเผชิญความเครียดของสมาชิกในครอบครัว ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยศึกษาสมาชิกในครอบครัว ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะจํานวน 160 ราย ที่เข้ารับการรักษาแผนกศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเครียด ของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ แบบสอบถามการเผชิญความเครียด และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับความเครียดและ การได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง ใช้การเผชิญความเครียดทั้งด้านการจัดการ กับปัญหา การจัดการกับอารมณ์ และการจัดการแก้ปัญหาทางอ้อมร่วมกัน โดยใช้วิธีการเผชิญความเครียด ด้านจัดการกับปัญหามากที่สุดและพบว่า  1) อายุเป็นปัจจัยที่สามารถทํานายการเผชิญ ความเครียดด้านจัดการกับอารมณ์ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยสามารถทํานายได้ ร้อยละ 4.1 (p < .01)  2) ปัจจัยด้านความรุนแรงของการบาดเจ็บที่ ศีรษะร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมสามารถทํานาย การเผชิญความเครียด ด้านการจัดการแก้ปัญหาทางอ้อม ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยสามารถร่วมทํานายได้ร้อยละ 9.2 (p < .01)  ผลงานวิจัยครั้งนี้สามารถนําไปใช้ในการวางแผน การพยาบาลเพื่อลดความเครียด และส่งเสริมการ เผชิญความเครียดของสมาชิกในครอบครัว ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นําไปสู่คุณภาพ ชีวิตที่ดีต่อไป  The purpose of this study was to examine predictors of coping strategies among family members of patients with head injury. The sample consisted of 160 family members of patients with head injury from the traumatic department, Sawanpracharak Hospital in  Nakhonsawan. Data were collected from interview by using The Demographic Data Record Form, the Stress Appraisal Questionaire, the Social Support Questionaire and the Revised  Jalowiec Coping Scale. Descriptive statistics and Stepwise Multiple Regression Analysis were employed to analyze the data. The results of this study vealed that the family members of patients with head injury appraised a high level of stress and a high level of social support. Coping strategies which the family members of patients with head injury used were confrontative, emotive, and palliative ones. The strategies of coping which the samples used from the highest to the lowest were confrontative, palliative and emotive strategies. The result of stepwise multiple regression showed factors that could predict coping were: 1) Age could predict emotive coping at the level of 4.1 % (p <.01)  2) Severity of head injury and social support could predict palliative coping at the  level of 9.2 %(p<.01)  The findings can be used as guidelines for nursing intervention to provide support and advice to alleviate stress as well as to encourage family members of patients with head injury to use appropriate coping strategies.

Downloads

Published

2022-03-03