ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของอาจารย์นิเทศกับความสามารถในการใช้ความคิด วิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ในการฝึกปฏิบัติงานการพยาบาลอนามัยชุมชน

The Relationship between Actual Performance Concerning Supervision and Critical Thinking Ability in Community Health Nursing Practice by Fourth Year Nursing Students in Kuakarun College of Nursing

Authors

  • สมใจ วินิจกุล

Keywords:

การนิเทศการศึกษา, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, พยาบาลอนามัยชุมชน, นักศึกษาพยาบาล, บทบาทอาจารย์นิเทศ, การฝึกปฏิบัติงาน, การพยาบาลอนามัยชุมชน

Abstract

พยาบาลที่มีความคิดวิจารณญาณมักจะสามารถ ตัดสินใจให้บริการได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว ทัน เหตุการณ์ ประทับใจผู้รับบริการ การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาท ของอาจารย์นิเทศกับความสามารถของนักศึกษา พยาบาลในการฝึกปฏิบัติงาน และศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างบทบาทของอาจารย์นิเทศกับความสามารถใน การใช้ความคิดวิจารณญาณของนักศึกษาในการฝึก ปฏิบัติงานการพยาบาลอนามัยชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2547 วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ จํานวน 147 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC ค่าสถิติ ที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. นักศึกษามีความสามารถในการฝึกปฏิบัติงาน การพยาบาลอนามัยชุมชนอยู่ในระดับดี ทั้ง 4 ด้าน คือ การเยี่ยมบ้านและการดูแลสุขภาพครอบครัว งานอนามัยโรงเรียน การสอนสุขศึกษา และกระบวนการ วินิจฉัยอนามัยชุมชน โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.77, 3.87, 3.85 และ 4.06 ตามลําดับ 2. นักศึกษามีความสามารถในการใช้ความคิด วิจารณญาณในการฝึกปฏิบัติงานการพยาบาล อนามัยชุมชนอยู่ในระดับดี ทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านการตีความ ด้านการวิเคราะห์ ด้านการประเมิน ด้านการสรุปความ ด้านการอธิบาย และด้านการควบคุมตนเอง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84, 4.11, 4.15, 4.09, 3.71 และ 3.99 ตามลําดับ 3. อาจารย์นิเทศมีบทบาทในการนิเทศการฝึก ปฏิบัติงานการพยาบาลอนามัยชุมชนอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.37 4. บทบาทของอาจารย์นิเทศมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับความสามารถของนักศึกษาในการฝึก ปฏิบัติงานการพยาบาลอนามัยชุมชนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 4 ด้านคือ ด้านการเยี่ยมบ้านและการดูแลสุขภาพครอบครัว (r=.211, p=.009) ด้านอนามัยโรงเรียน (r=..4106, p=.000) ด้านการ สอนสุขภาพ (r=.5668, p=.000) และด้านกระบวนการวินิจฉัยอนามัยชุมชน (r=.4831, P=.000) 5. ทาบทบาทของอาจารย์นิเทศมีความสัมพันธ์ทางบวก กับความสามารถของนักศึกษาในการใช้ ความคิดวิจารณญาณในการฝึกปฏิบัติงานการ พยาบาลอนามัยชุมชนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้ง 6 ด้านคือ ด้านการตีความ (r=215, p=.009) ด้านการวิเคราะห์ (r=.3438, p=.000) ด้านการะประเมิน (r=.3019, p=.000) ด้านการสรุปความ (r=.4723, p=.000) ด้านการอธิบาย (r=.6037, P=.000) และด้านการควบคุมตนเอง (r=.4362, P=.000) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย อาจารย์ พยาบาลและผู้บริหารสถานศึกษาควรตระหนัก และให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา ความคิดวิจารณญาณ The objectives of this research were to find out the relationship between the actual performance concerning supervision of instructors and the ability and critical thinking of nursing students in community health nursing practice. The samples were 147 fourth year nursing students in 2004 academic year at Kuakarun College of Nursing. The research instruments were three questionnaires which were (1) the ability of nursing students in community health nursing practice (2) the critical thinking of nursing students in community health nursing practice and (3) the actual performance concerning supervision of instructors. The statistical treatments included percentages, arithmetic means, standard deviations and Pearson's product moment correlation coefficient. The results were as follows. 1. The ability of nursing students in community health nursing practice were at the high level in 4 areas: home visit and home health care, school health nursing, health education, and community diagnosis. 2. The ability of nursing students in critical thinking in the community health nursing practice were at the high level in 6 areas : interpretation, analysis, evaluation, inference, explanation and self regulation. 3. The actual performance concerning supervision of instructors in community health nursing practice were at the high level. 4. There was significant positive correlation between actual performance concerning supervision of instructors and the ability of nursing students in community health nursing practice. (p<.01)  5. There was significant positive correlation between actual performance concerning supervision of instructors and the ability of nursing students in critical thinking in community health nursing practice. (p<.01) The results of this study recommended that nursing faculty and nursing education administrator emphasized critical thinking should be conducted in order to improve quality of nursing education and practice.

Downloads

Published

2022-03-08