การปฏิบัติบทบาทของครูพี่เลี้ยงคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา

Practices of preceptor's role Faculty of Nursing Burapha University

Authors

  • ทัศนีย์ วรภัทรากุล
  • มณีรัตน์ ภาคธูป
  • โสรัตน์ คนึงคิด
  • รวีวรรณ เผ่ากัณหา
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
  • อรพินท์ หลักแหลม
  • ฉันทนา จันทวงศ์

Keywords:

มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะพยาบาลศาสตร์, ครูพี่เลี้ยง, การพยาบาล, การปฏิบัติบทบาท

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา เพื่อศึกษาการปฏิบัติบทบาทของครูพี่เลี้ยง คณะพยาบาล ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในแหล่งฝึกประสบการณ์ที่ทําหน้าที่ เป็นครูพี่เลี้ยงแก่นักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ในปีการศึกษา 2545-2546 จํานวน 112 คน เก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามที่ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป การปฏิบัติบทบาทของครูพี่เลี้ยงและแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา และความต้องการได้รับการพัฒนาของครูพี่เลี้ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ครูพี่เลี้ยงมีการปฏิบัติ บทบาทของครูพี่เลี้ยงโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.17, SD = 0.31) ส่วนรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือด้านบุคลิกภาพ (ค่าเฉลี่ย = 3.29, SD = 0.42) ด้านที่มี คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการสอน (ค่าเฉลี่ย = 3.08, SD= 0.37) ปัญหาและความต้องการได้รับการพัฒนาของครูพี่เลี้ยง พบว่าครูพี่เลี้ยงมีปัญหาในการปฏิบัติ บทบาทของครูพี่เลี้ยงในรายข้อและโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.29, SD = 0.71) ส่วนรายข้อ ที่คะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การบริหารเวลา (ค่าเฉลี่ย = 3.49, SD = 0.93) ส่วนข้อที่คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การ เพิ่มภาระงาน (ค่าเฉลี่ย = 3.03, SD = 1.04) ความต้องการ ได้รับการพัฒนาบทบาทครูพี่เลี้ยง คือการพัฒนาตนเองของครูพี่เลี้ยง เช่น การได้เข้าอบรมทางวิชาการ การศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น การใช้แหล่งประโยชน์ของมหาวิทยาลัย การจัดแหล่งค้นคว้าในหอผู้ป่วย และการกําหนดบทบาทครูพี่เลี้ยงที่ชัดเจน ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติบทบาทของครูพี่เลี้ยงที่มีความแตกต่างกันของประสบการณ์การทํางาน ประสบการณ์การเป็นครูพี่เลี้ยง และสถานที่ในการทํางาน พบว่าการปฏิบัติบทบาทของครูพี่เลี้ยง โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าการปฏิบัติบทบาทของครูพี่เลี้ยงด้านความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลของกลุ่มที่มีประสบการณ์การทํางาน 1-5 ปี และมากกว่า 10 ปี มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่ม 6-10 ปี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) การ ปฏิบัติบทบาทของครูพี่เลี้ยงด้านการสอนของกลุ่มที่มีประสบการณ์การเป็นครูพี่เลี้ยงมากกว่า 7 ปี สูงกว่า กลุ่ม 1-2 ปี และ 3-4 ปี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01 และ .001 ตามลําดับ) และกลุ่ม 5-6 ปี สูงกว่า C กลุ่ม 3-4 ปี อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และการปฏิบัติบทบาทของครูพี่เลี้ยงด้านการพยาบาล กลุ่มที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ และหน่วยงานสุขภาพอื่น สูงกว่ากลุ่มที่ทํางาน ในโรงพยาบาลชุมชนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05 และ < .01 ตามลําดับ) จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าผู้ที่จะทําหน้าที่ ครูพี่เลี้ยงควรได้รับการพัฒนาบทบาทด้าน การสอน เพื่อให้ครูพี่เลี้ยงมีความมั่นใจและทําหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ  The purpose of this descriptive study was to examine the practices of preceptor's role for nursing students. One hundred and twelve preceptors who worked for Faculty of Nursing, Burapha University were recruited to supervise nursing students at the clinical sites during the year 2002-2003, self-report questionnaires, including personal data record form, the practices of preceptor's role questionnaire, and the preceptor's problems and needs questionnaires were used to collect data. Data were analyzed by using descriptive statistics and the Analysis of variances.  The findings showed that the perception scores of preceptors toward their practice role were at high level (average = 3.17, SD = 0.31) Considering in each role, preceptors had the highest mean scores on personality role (average = 3.29, SD = 0.42) and had the lowest mean scores on teaching role (average = 3.08, SD = 0.37)  For the problems of practices of preceptor's role, preceptors reported scores of these problems at a moderate level (average = 3.29, SD = 0.71). Considering on each role, they reported the highest mean scores on time management (average = 3.49, SD = 0.93) and the lowest mean scores on work load (average = 3.03, SD = 1.04). Furthermore, preceptor's needs were reported, including joining special training, getting higher education, accessing university resources, and guideline of preceptor's role practices.  The practices of preceptor's role were compared among preceptors who had differences on work experiences, preceptorship experiences, and work places. The findings indicated that there was no statistical significant difference of preceptor's role practice scores among those who had different work experiences, preceptorship experiences, and work places. However, when focus on each role of practices of preceptor's role, preceptors who had work experiences from one year to five years and those who worked more than 10 years had higher interpersonal relationship scores than those who had work experiences six to ten years (p < .05). For teaching role, preceptors who had higher teaching experience had higher scores than those who had less experience of preceptorship (p < .05). Finally, preceptors who worked in central and general hospitals had higher scores of nursing practice role than those who worked in community hospital (p < .05).  According to the research findings, providing in-service training, especially an teaching role development to preceptors is needed. Therefore, they feel confident and supervise nursing students effectively.

Downloads

Published

2022-03-08