สาเหตุและผลของความอ้วนกับการจัดการกับความอ้วน: การวิจัยเชิงคุณภาพแบบพรรณนาในเด็กที่มีภาวะอ้วนในเขตจังหวัดชลบุรี

Antecedents, consequences, and management of obesity: A descriptive qualitative study among obese children in Chonburi province

Authors

  • มณีรัตน์ ภาคธูป
  • รัชนีวรรณ รอส

Keywords:

โรคอ้วน, โรคอ้วนในเด็ก, เด็กน้ำหนักเกิน, ชลบุรี, การจัดการกับความอ้วน, เด็กที่มีภาวะอ้วน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุการรับรู้เกี่ยวกับผลกระทบของความอ้วน และกระบวนการจัดการกับความอ้วน ตามการรับรู้ของเด็กที่มีภาวะอ้วนในเขตจังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง จํานวน 16 คน มีอายุอยู่ระหว่าง 10-14 ปี เป็นเพศชาย 8 คน เพศหญิง 8 คน มีค่าดัชนี มวลกายเฉลี่ยเท่ากับ 33.8 (SD = 4.2) การศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลกับกลุ่มตัวอย่างจํานวน 16 คนและการสนทนากลุ่ม 1 ครั้ง กับกลุ่มตัวอย่างจํานวน 7 คน ในช่วงระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2545 - มิถุนายน 2546 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ถึงสาเหตุ ของความอ้วนว่าเกิดจาก พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ไม่ออกกําลังกาย พฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารมาก กรรมพันธุ์ การรับประทานยาถ่ายพยาธิและการให้ สารน้ำทางหลอดเลือดดํา เกี่ยวกับเรื่องผลกระทบของความอ้วนนั้น ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ผลของความอ้วน ในเชิงลบมากกว่าในเชิงบวก ผลในเชิงบวกคือคนไม่กล้ารังแก หาเพื่อนง่าย ส่วนผลในเชิงลบนั้นมี ผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม คือมีผลต่อการดําเนินชีวิตประจําวันทําให้ปฏิบัติกิจวัตรประจําวันลําบาก มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ถูกล้อเลียน มีภาพลักษณ์ต่อตนเองใน ทางลบ หาเสื้อผ้าใส่ยาก เดินทางลําบาก ส่วนเรื่องการจัดการกับความอ้วน เมื่อรับรู้ว่าตนเองมีอาการอ้วนในระยะแรกนั้นผู้ให้ข้อมูลและผู้ปกครองต่างก็ ไม่ได้ให้ความสนใจ เมื่ออาการอ้วนปรากฏขึ้นจนเห็นชัดเจน ผู้ให้ข้อมูลจึงพยายามลดความอ้วนโดยการ ควบคุมอาหาร การออกกําลังกาย ใช้ยาลดความอ้วน ใช้พืชและสมุนไพรบางชนิด เกี่ยวกับวิธีการลดความอ้วนโดยใช้วิธีการควบคุมอาหารและการ ออกกําลังกายนั้น เหตุผลที่ผู้ให้ข้อมูลเลิกใช้วิธี เหล่านี้เนื่องจาก ผู้ให้ข้อมูลใช้วิธีการควบคุมอาหารที่ไม่ถูกวิธี ลดปริมาณอาหารมากและเร็วเกินไปทําให้มีปัญหาทางด้านสุขภาพ รู้สึกท้อแท้หมดหวังที่ไม่ เห็นผลในระยะสั้น ถูกล้อเลียนเรื่องการลดน้ำหนัก ส่วนเรื่องการออกกําลังกายนั้น ผู้ให้ข้อมูลใช้ระยะเวลาเพียงเล็กน้อยในการออกกําลังกาย ทั้งนี้เนื่องจาก ขาดเพื่อนร่วมออกกําลังกาย รู้สึกเหนื่อยเร็วหลังออกกําลังกาย รู้สึกท้อแท้ที่ไม่เห็นผลในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนั้นการเลิกใช้การลดน้ำหนักทั้ง 2 วิธี นี้ยังเกิดจากการขาดแรงสนับสนุน และส่งเสริมจากครอบครัว จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะคือ ควรให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เด็ก ทั้งในเรื่องสาเหตุของความอ้วน การควบคุมอาหารและการออกกําลังกาย ส่วนโปรแกรมการลดน้ำหนักที่จะจัดให้แก่เด็กนั้น ควรเป็นโปรแกรมที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่น ในตนเองว่าสามารถปรับพฤติกรรมของตนเองได้ มีความตระหนักเรื่องการออกกําลังกายและการรับประทานอาหาร และสนับสนุนให้ครอบครัวมี บทบาทสําคัญต่อการลดน้ำหนักของเด็ก  This descriptive qualitative study aimed to describe perceived causes and consequences of being obese and how obese children managed their weight. Purposive sampling was used to recruit 16 obese children aged 10-14 years old (8 boys and 8 girls). The mean BMI of the participants was 33.8 (SD = 4.2). Data were collected from February 2002 to June 2003. Individual in-depth interviews were conducted. A focus group with seven of the 16 children was also carried out. Content analysis was used to analyze the data  Results revealed that the participants believed that their obesity was caused by their inappropriate food intake, inadequate exercise, over-consumption promoted by family members, heredity, anti-parasitic drug intake, and a history of receiving intravenous fluids. The participants stated that there were more negative than positive consequences for being obese. The positive consequences consisted of being able to resist being bullied and of helping to make friends with other children. The negative consequences involved physical, psychosocial, and emotional dimensions of obesity. The participants reported not feeling at ease physically due to their difficulty in performing daily activities. They also felt that they were at risk of getting sick, and stated that they were often teased and ridiculed by their friends, resulting in a negative self-image. In addition, the participants said they had problems with traveling and finding satisfactory clothing. Participants reported that they and their families did not pay attention to their gaining weight in the beginning. However, when the children recognized that their weight gain was out of control, they began trying to lose weight by controlling their nutritional intake, exercising, and taking diet pills and herbs. Regarding dieting and exercising, the participants found that these practices did not work for them. They also realized that they were impatient in trying to lose weight by over dieting. Afterward, they did not feel good physically, and finally gave up. The children also gave up exercising because of getting tired too soon and a lack of company. The participants voiced their discouragement and hopelessness at not being able to accomplish their goals. Moreover, they felt that their families did not provide enough support for them in their efforts to lose weight. Implications for nursing include providing valid information to children and families about some of the causes and consequences of obesity along with information about dieting and exercising, and also encouraging families to support children in their weight programs. Such program should be promoted among obese children in order to encourage a healthy lifestyle and increase their self-esteem

Downloads

Published

2022-03-08