ประสบการณ์การถูกทารุณกรรมของผู้สูงอายุ

Abused Experience of the Elderly

Authors

  • สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์

Keywords:

ผู้สูงอายุ, การดูแล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบ พรรณนา (descriptive qualitative research) ที่มุ่งศึกษาประสบการณ์การถูกทารุณกรรมตาม การรับรู้ของผู้สูงอายุในด้านความหมาย ลักษณะสาเหตุและผลของการถูกทารุณกรรม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ในผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์การถูกทารุณกรรม จํานวน 12 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้ให้ข้อมูลให้ความหมายของการ ทารุณกรรมผู้สูงอายุว่า หมายถึง การที่ตนเองไม่ได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือการถูกบังคับ และการขัดใจจากผู้อื่น และลักษณะของการทารุณกรรม เกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การไม่ดูแลการไม่ร่วมสนทนา การเบียดเบียนทรัพย์สิน การให้ดูแลหลาน การให้ทํางานบ้าน การให้อยู่ดูแลบ้าน และการไม่ให้ร่วมกิจกรรมของครอบครัว ส่วนสาเหตุของการทารุณกรรมนั้น ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ว่าเป็นผลมาจากทั้งตัวผู้ให้ข้อมูล และผู้กระทําซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกในครอบครัว สาเหตุจากผู้ให้ข้อมูลเอง ได้แก่  ความเจ็บป่วย ความยากจน และผลกรรมจากผู้กระทําการทารุณกรรม ได้แก่ การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้สูงอายุ และการใช้สิ่งเสพติด การถูกทารุณกรรมนี้ส่งผลให้ผู้ให้ข้อมูลเกิดความทุกข์ใจ ต้องหลบหนี และไม่อยากมีชีวิตอยู่ ซึ่งการทราบถึงปัญหาการทารุณกรรมผู้สูงอายุนี้ จะเป็นประโยชน์สําหรับพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุต่อไป  The purpose of this descriptive qualitative research was to describe abused experiences of the elderly as perceived in 4 aspects : meaning, characteristic,  occurrence, and consequence of elder abuse. Twelve female participants aged range from 64 to 90 years old were in – depth interviewed. Data were analyzed by using content analysis. Findings revealed the meaning of being abused to be not supporting and help, coercing, and blocking needs. The characteristics of elder abuse perceived by the participants were inconsideration, being ignored, taking financial advantage, being forced to do baby sitting, being forced to do chores, being forced to do house - sitting, and being rejected to participate family activities. Based on the data obtained from interview, the occurrence of elder abuse was derived from both the participants and their relatives. The participants perceived that their physical defects, financial dependency, bad kamma, negative attitudes toward elderly and time when abusers were under intoxication. Consequences of being abused as perceived by the participants included being upset, having to run away, and being hopeless for their life. Understanding the victims of abusive  problem is an important step for nurses to develop interventions.

Downloads

Published

2022-04-11