การพัฒนาสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนต่อการป้องกัน มะเร็งเต้านม

Participatory Health Development of Women in Community to Preventiv Breast Cancer

Authors

  • สมใจ วินิจกุล
  • อรวรรณ แก้วบุญชู

Keywords:

เต้านม, มะเร็ง, การป้องกันและควบคุม, อนามัยเจริญพันธุ์, ภาวะเจริญพันธุ์

Abstract

          การพัฒนาสุขภาพอย่างมีส่วนร่วม เป็นกลวิธีในการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยของสตรี ในชุมชน โดยการส่งเสริมสนับสนุนให้กลุ่มสตรี ได้เกิดการเรียนรู้ถึงสภาพปัญหาและค้นหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้สามารถดูแลตนเอง และพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้ โดยเฉพาะปัญหามะเร็งเต้านมซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อย  ในสตรีวัยเจริญพันธุ์และพบมากเป็นอันดับสอง รองจากมะเร็งปากมดลูกและเป็นสาเหตุการ ตายที่สําคัญในสตรีไทย แต่ก็เป็นโรคที่รักษาได้ และมีอัตราการรอดชีวิตค่อนข้างสูงถ้าตรวจพบ ในระยะเริ่มแรก ดังนั้นการส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ สู่การปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นวิธีหนึ่งในการตรวจหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ในชุมชน มีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเพื่อป้องกัน มะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง สามารถดูแลตนเองได้อย่างสม่ำเสมอ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพสตรีในชุมชนอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนหลัง วิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร จํานวน 71 คน รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า  1. สตรีกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ และการปฏิบัติเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมอยู่ในระดับ ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 6.35, SD = 1.65) และ (ค่าเฉลี่ย = 2.21, SD = 0.26) แต่มีทัศนคติอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.53, SD = 0.24)  2. ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ทัศนคติเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวก กับการปฏิบัติเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  3. โครงการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพ สตรีในชุมชนประกอบด้วยกิจกรรมการจัด นิทรรศการสุขภาพอนามัยของสตรี และการอบรมความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม และการตรวจเต้านมด้วยตนเองให้กับตัวแทนสตรี เป็นผลสืบเนื่องมาจากตัวแทนสตรีที่เข้าร่วมสนทนา กลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็น ค้นหาสาเหตุและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการป้องกันมะเร็งเต้านมของสตรีในชุมชน  4. ผลการดําเนินงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพสตรีในชุมชน มีสตรีเข้าร่วมในกิจกรรม นิทรรศการสุขภาพ 68 คน จากจํานวนสตรีวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด 109 คน คิดเป็นร้อยละ 62.39 มีความพึงพอใจในกิจกรรมที่จัดร้อยละ 89.71 ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.44 และสามารถนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 91.80 ตัวแทนสตรีที่ได้รับการอบรม 2 ใน 4 คน สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้การดูแลด้านสุขภาพ กับสตรีในชุมชนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า กลยุทธ์การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นแนวทางที่ควรได้รับ การส่งเสริม เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้ชุมชน เกิดความตระหนักในปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดการยอมรับและค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาของตนเอง ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขควรสนับสนุน การมีส่วนร่วมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในชุมชนเพื่อป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนาสุขภาพอนามัยของสตรีที่ยั่งยืนต่อไป  Breast cancer is the second incidence after cervical cancer. Although breast cancer is an important cause of death in Thai women, it can be cured and has a high rate of survival if detected at an early stage. Breast self examination is one of the recommended methods for early detection of breast cancer. The operational research was aimed to increase knowledge, attitude and practice of preventive breast cancer among Women, to enable them to take good care of their health as to prevent the disease, and to encourage them to constantly participate in the women club's health promotion activities. The study group was 71 women who lived in Salapatchang community, Klongsan district, Bangkok Metropolitan. The data were collected by interview, group discussion, observation and participatory observation. Data were analyzed by using descriptive statistics and content analysis. The results were as  follows.  1. The women had moderate levels of knowledge (average = 6.35, SD = 1.65) and  practice (average = 2.21, SD = 0.26) of preventive breast cancer, except attitude had a high level. (average = 2.53, SD = 0.24)  2. There was significant positive correlation between knowledge and attitude of preventive breast cancer (P<.01), knowledge and practice of preventive breast cancer had significant positive correlation P<.05).  3. There was good participation in focus group discussion from the informal leaders'. Women could identify problems and find solutions by themselves such as promoting Women's health exhibitions and training programs.  4. There were successful in promoting women's health exhibition and training  program to increase knowledge of health care on breast cancer and breast self - examination. The results indicate that the community participation was the key strategy to success. Participation should be promoted to raise awareness, community acceptance, perform Sustainable activities. Community participation should be established in order to prevent problems in women health care and encourage them to constantly participate in the women club's health promotion activities, especially on breast cancer.

Downloads

Published

2022-04-11