ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงานต่อการทำงานเป็นทีมของบุคลากรสุขภาพศูนย์ สุขภาพชุมชนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

Effect of Team Development Program on Teamwork of Health Care Personnel in Primary Care Unit of Banbueng District Chonburi Province

Authors

  • นิสารัตน์ อ้นวงษา
  • เรณา พงษ์เรืองพันธุ์
  • จิตร์พร หล่อสุวรรณกุล

Keywords:

ศูนย์สุขภาพชุมชนอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี, บุคลากรสาธารณสุข, การทำงานเป็นทีม, กลุ่มทำงาน

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง ที่มุ่งศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงาน ต่อการทํางานเป็นทีมของบุคลากรสุขภาพ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสุขภาพในศูนย์สุขภาพชุมชนอําเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จํานวน 22 คน สุ่มอย่างง่ายโดยวิธี จับฉลากและสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้ รูปแบบการพัฒนาทีมงาน 1 เครือข่าย จํานวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินการทํางานเป็นทีมเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรง และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้เท่ากับ .91, 2) รูปแบบการพัฒนาทีมงาน ที่ใช้ในการทดลอง, 3) แบบสังเกตทักษะการ ทํางานเป็นทีม และ 4) แบบประเมินปัญหาการทํางานเป็นทีม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความ เที่ยงตรงและตรวจสอบความเห็นพ้องของผู้ทรงคุณวุฒิได้ ร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ independent t test และ dependent t test  ผลการวิจัยพบว่า  1. การทำงานเป็นทีมของกลุ่มควบคุมที่ปฏิบัติงานตามปกติ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. การทำงานเป็นทีมของกลุ่มทดลอง หลังใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.13, SD = 0.20) สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงาน (ค่าเฉลี่ย = 3.62, SD = 0.27, t = 6.59, p < .05)  3. การทำงานเป็นทีมของกลุ่มทดลอง หลังใช้รูปแบบการพัฒนาทีมงาน (ค่าเฉลี่ย = 4.13, SD = 0.20) สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ปฏิบัติงานตามปกติหลังการทดลอง (ค่าเฉลี่ย = 3.58, SD = 0.41, t = 3.94, p < .05)  This experimental research employed a pretest-posttest control group design. The studies aimed to examine and compare the effect of a team development program on team work of health care personnel in primary care units. This research studies randomly included twenty-two health care personnel working in primary care unit of Banbueng district located in Chonburi province. Eleven samples in primary health care unit network who received an implementation were assigned into an experimental group, and eleven samples of other primary health care unit network who followed an existing system were in the control group. The project employed rating scale-questionnaire with validated content and high reliability (Cronbach's index of internal consistency or  = .91) to examine teamwork of health care personnel, team development program to implement on the experimental group, observational checklist to evaluate team-working skills ; and observational checklist to evaluate encountered problem in team-working. There were qualified for content validity and inter-rater agreement (100 %). By means of frequency, percentage, mean, standard deviation, and test of a difference between two means (t tests)  Research findings  1. The pretest and posttest scores on teamwork of control group were not  significantly different. (p < .05)  2. The posttest scores on teamwork effect of experimental group (average = 4.13, SD = 0.20) were significantly greater than its pretest scores. (average = 3.62, SD = 0.27, t = 6.59, p < .05) 3. The experimental group (average = 4.13, SD = 0.20) yielded significantly greater  posttest scores on teamwork than did the control group. (average = 3.58, SD = 0.41, t = 3.94, p < .05)

Downloads

Published

2022-04-11