ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพความเป็นอยู่กับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานในโรงงาน อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี

The Relationship Between Living State and Quality of Life of Industrial Workers, Chonburi Province

Authors

  • จุฑารัตน์ เทพพรบริสุทธิ์
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ

Keywords:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, ไทย, ชลบุรี, ความพอใจในการทำงาน, แรงงาน, คุณภาพชีวิต

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหา ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพความเป็นอยู่ กับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้แรงงาน ในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากผู้ใช้แรงงานในเขตจังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกการตรวจร่างกาย แบบสอบถามวัดความเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คํานวณค่าสัมประสิทธิ์  สหสัมพันธ์สเปียร์แมน วิเคราะห์การถดถอย แบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า  1. สภาพความเป็นอยู่ ได้แก่ สภาพแวดล้อม และชีวิตการทํางานอยู่ในระดับดี ภาวะสุขภาพกายอยู่ในระดับมี 1-2 โรคหรืออาการ มีความเครียดสูงกว่าปกติเล็กน้อย มีรายรับมากกว่ารายจ่าย มีเวลาให้ครอบครัว เฉลี่ยประมาณ 4 ชั่วโมงต่อวัน  2. คุณภาพชีวิตแบบมิติเดียว และแบบหลายมิติอยู่ในระดับปานกลาง 3. ชีวิตการทํางาน (Work) ความเครียด (stress) สภาพแวดล้อม (env) และการมีเวลาให้ครอบครัว (time) เป็นปัจจัยร่วมกันทํานาย คุณภาพชีวิตแบบหลายมิติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และสามารถทํานายได้ร้อยละ 16.9 ซึ่งสามารถเขียนสมการทํานายในรูปคะแนนดิบได้ดังนี้ คุณภาพชีวิตแบบหลายมิติ = 100 + 1.288 (work) - 0.474 (Stress) + 1.608 (env) + 0.724 (time) 4. ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบ ส่วนรายได้สุทธิมีความสัมพันธ์ทางบวก กับสุขภาพโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  5. รายได้สุทธิ สภาพแวดล้อม การมีเวลาให้ครอบครัว และชีวิตการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวก ส่วนความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบ กับคุณภาพชีวิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  6. คุณภาพชีวิตแบบมิติเดียว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตแบบหลายมิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)4.  The purpose of this research was to study the relationship between living status and quality of life of industrial workers. The sample were derived from the multistage random sampling, and consisted of 400 industrial workers in Chonburi province. The instruments were composed of Data Interview Questionnaire, Examination Form, Thai Computerized Self Analysis Stress Test (TCSS), and Quality of Life Industrial worker scale. Descriptive statistics, Spearman's rank correlation coefficient, strepwise multiple regression were conducted for data analysis. The results revealed that :  1. Living state-environment and working life was at good-level. Participants had 1-2 diseases or symptoms. The stress status was higher normal. Participants earned more incomes than expend. Participants spent 4 hours a day with their families. 2. Unidimension of quality of life (QOL) and multidimension of QOL were at middle -level. 3. Working life, stress,  environment, and time for family were significantly predicted 16.9 percent of multidimension of QOL (p < .05). The regression equation in raw score was as follow : Multidimension of QOL = 100 + 1.288 (working life) - 0.474 (stress) + 1.608 (environment) + 0.724 (time spent with family)  4. Stress was significantly inverse correlation to overall QOL and net income was a significantly positive correlation to overall QOL (p < .05).  5. Net income, environment, time for family, and working life were significantly positive correlation to overall QOL, stress was a significantly inverse correlation to overall QOL (p < .05).  6. Unidimension of QOL was significantly positive correlation to multidimension of QOL (p < .05).

Downloads

Published

2022-04-11