ปัจจัยที่ มีอิทธิพลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Factors Influencing the Critical Thinking of Nursing Students Studying at the Faculty of Nursing of Burapha University

Authors

  • วิจิตร์พร หล่อสุวรรณกุล

Keywords:

มหาวิทยาลัยบูรพา คณะพยาบาลศาสตร์, นักศึกษาพยาบาล, การพยาบาล, การศึกษาและการสอน, ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ความคิดและการคิด

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตพยาบาล 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านนิสิต ด้านการเรียนของนิสิต และด้านอาจารย์ ผู้สอน กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตพยาบาล 3) อํานาจการทํานายการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนิสิตพยาบาล โดยใช้ปัจจัยด้านนิสิต ด้านการเรียนของนิสิตและด้านอาจารย์ ผู้สอนเป็นตัวทํานาย ประชากรเป้าหมายในการวิจัยคือนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ทั้งหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ภาคพิเศษ ในปีการศึกษา 2545 ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง 247 คน เลือกตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย โดยเลือกตามสัดส่วนของนิสิต ทั้งสี่กลุ่มคือ นิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และนิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ภาคพิเศษ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ตัวแปรอิสระได้แก่ ปัจจัยด้านนิสิตด้านการเรียนของนิสิต และด้านอาจารย์ผู้สอนตัวแปรตามได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ สัมประสิทธิ์แอลฟาความเชื่อมั่นของแบบวัด เท่ากับ .93, .83, .92 และ .75 ตามลําดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คะแนนเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สหสัมพันธ์อย่างง่าย สหสัมพันธ์พหุคูณ และการถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยการคิด อย่างมีวิจารณญาณของนิสิตทั้งสี่กลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง กล่าวคือสูงกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็มของแบบวัด นิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาญสูงกว่านิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -6.46, p < .001) นิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตมีคะแนนเฉลี่ย การคิดอย่างมีวิจารณญาณสูง ที่สุดระหว่างสี่กลุ่มที่ศึกษา ปัจจัยด้านนิสิต ด้านการเรียนของนิสิตและด้านอาจารย์ผู้สอนมีความสัมพันธ์ กับการคิดอย่างมีวิจารณญาณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .60 ตัวแปรย่อยที่มีความสัมพันธ์สูง ได้แก่ พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ แรงจูงใจด้านการสนับสนุนจากบุคคลอื่น การใช้เวลาในการเรียนและประสบการณ์ในการเรียน (r = .540, .269, .249 และ .247 ตามลำดับ p < .001) ในภาพรวมนั้นตัวแปรที่ทำนายการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้ดีที่สุดคือ พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ (R = .54, p < .001) ตัวทำนายที่ดีถัดมาคือการใช้เวลาเรียนของนิสิต  The objectives of this research were to study: 1) the level of critical thinking of nursing students 2) the relationships between critical thinking of the students and the following factors : students' individual factor, students’ learning factor and the instructors' factor and 3) the predictability of critical thinking of nursing students. The sample consisted of the third-year and fourth -year nursing students in the Bachelor of Nursing Science Program and Bachelor of Nursing Science Program (Continued Program), Faculty of Nursing, Burapha University. Based upon the Krejcie and Morgan's Table (1970), 247 students were randomly selected to participate in this research. The instruments for data collection were questionnaires. The independent variables included the students” individual factor, students learning factor and instructor factor, and dependent variable was critical thinking. Alpha coefficients yielding the reliabilities of the instruments were .93, .83, .92 and .75 respectively. Statistical procedures used to analyze data in this study included mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, simple correlation, multiple correlation and step-wise multiple  regression.  This study revealed that mean scores on the critical thinking of every group were at moderate level. The mean scores of the fourth-year students was higher than that of third-year students. In addition, the mean scores of fourth-year students in the Bachelor of Nursing Science Program was the highest among the four groups. The relationship between the students' individual factor, students learning factor, instructor factor and critical thinking of students were significantly correlated with multiple correlation of .60. The variables that  have highest correlation were: teaching behavior, support from others, time spent for studying and learning experiences (r = .540, 269, .249 and .247 respectively, p < .001). Overall, the teaching behavior was found to be the best predictor of the critical thinking (R = .54, p < .001). The second best predictor was the time spent on studying of individual students.

Downloads

Published

2022-04-11