การเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

Transition in the lives of hospitalized elderly women after having sustained hip fracture

Authors

  • ยุพิน ถนัดวณิชย์
  • พรชัย จูลเมตต์

Keywords:

ผู้สูงอายุ, โรค, กระดูกตะโพกแตก, การรักษา, กระดูกหัก, การพยาบาลผู้สูงอายุ

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนผ่านในชีวิต ของผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเปรียบเทียบภาวะสุขภาพ ทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในช่วงระยะการเปลี่ยนผ่านระหว่างก่อนและภายหลังที่มีภาวะข้อ สะโพกหักขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เลือกกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาแบบเจาะจงจากผู้สูง อายุสตรีที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจํานวน 79 คน ได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ว่ามีภาวะข้อสะโพกหัก และได้รับการรักษาตามอาการ ที่หอผู้ป่วยกระดูกหญิง โรงพยาบาลชลบุรี และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ และหอผู้ป่วย ศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และแบบสอบถามภาวะสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ หาความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือ โดยผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบ และนําไปหาความ เชื่อมั่นด้วยวิธีของครอนบาคได้ค่าสัมประสิทธิ์ ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .81 กลุ่มตัวอย่างได้รับการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรับรู้ ภาวะสุขภาพก่อนและภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า ที ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงการเปลี่ยนผ่านในชีวิตของผู้สูงอายุ สตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก ขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล พยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงภาวะสุขภาพ ไปในด้านลบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (t = -18.82, p < .001) สะโพกหัก ผู้สูงอายุสตรีภายหลังที่มีภาวะข้อสะโพกหัก  The specific purposes of this descriptive research were to study transition in the lives of elderly women, and to compare health status including physical, mental, social and spiritual aspects between before and after having sustained hip fracture. Seventy-nine elderly women with over 60 years of age were randomly selected. They were diagnosed with hip fracture and received symptomatic treatment at female orthopedic unit in Chonburi hospital and Maharaj Nakorn Chiang Mai, and at female surgical unit, Queen Sawangwattana Memorial hospital. The instrument used in this study was comprised of demographic, information related to illness and current health status questionaire. Content validity was approved by the experts. Reliability was .81 obtained by Cronbach's coefficient alpha. Subjects were asked about health status prior to and after hip fracture. By conducting dependent t-test, the finding showed that the scores of health status prior to and after hip fracture were significantly different. (t = -18.82, p < .001). Particularly, all aspects of health status after hip fracture decreased. This differentiation of health status was considered a transition in the lives of elderly women with hip fracture. Nursing intervention to maintain health status of these elderly women are recommened.

Downloads

Published

2022-04-11