ผลการสัมผัสจากมารดาต่อการเจริญเติบโตของทารกคลอดก่อนกำหนดและความผูกพัน ระหว่างมารดา-ทารก

The Effect of Maternal Touch on the Growth of Preterm Infants and Maternal - Infant Attacment

Authors

  • สุรีย์รัตน์ ชลันธร
  • มณีรัตน์ ภาคธูป

Keywords:

ทารกคลอดก่อนกำหนด, การเจริญเติบโต, การสัมผัส, มารดาและทารก, มารดาและบุตร

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลการสัมผัสจากมารดาต่อการเจริญเติบโตของ ทารกคลอดก่อนกําหนด และความผูกพัน ระหว่างมารดา-ทารก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ มารดา และทารกคลอดก่อนกําหนด ที่มีน้ำหนักตัวเหมาะสมกับอายุครรภ์ และรับการรักษาในหน่วยบริบาลทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2544 ถึง เดือนมกราคม 2545 มีน้ำหนักตัวแรกเกิด ระหว่าง 1,410 - 1,790 กรัม จํานวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ,2 และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ราย     โดยทารกกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการกระตุ้นจากมารดาตามแบบแผนการสัมผัส วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที ก่อนให้นมหนึ่งชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน ติดต่อกัน ทารกกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการสัมผัสจากมารดาโดยการโอบอุ้ม และทารกกลุ่มควบคุม ได้รับการดูแลตามปกติ ประเมินการเจริญเติบโตของทารก ด้วยการชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน ส่วนความยาวลําตัว และเส้นรอบศีรษะวัดเมื่อสิ้นสุดการศึกษา และประเมินความผูกพันระหว่างมารดา และทารกด้วยแบบวัดความรู้สึก ผูกพันระหว่างมารดา และทารกในวันเริ่มและวันสุดท้ายของการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย one way ANOVA     ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวทารก ในกลุ่มทดลองที่ 1 มากกว่ากลุ่มทดลอง ที่ 2 และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยความยาวลําตัวทารก และค่าเฉลี่ยเส้นรอบศีรษะทารกในกลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 กับกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยความผูกพันระหว่างมารดา-ทารก ในมารดากลุ่มทดลองที่ 1 มากกว่ากลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purpose of this study was to investigate the effect of maternal touch on the growth of preterm infants and maternal-infant attachment. The sample consisted of 30 AGA preterm infants with weight between 1,410 - 1,790 grams which admitted in Nursery Room/ NICU at Queen Sawang Wattana Memorial Hospital with their mothers between May 2001 and January 2002. The subjects were controlled with birth weight, gestational age and nutrition status, and were randomly assigned to the 1st experimental group, 2nd experimental group, and control group, ten for each group  The 1st experimental group received maternal touch for fifteen minutes once a day at one hour before feeding for seven consecutively days The 2nd experimental group received holding from their mother for fifteen minutes once a day at thirty minutes before feeding for seven days consecutively. The control group received usual nursing care. During study period, the infant's body weight, length, head circumference and the maternal-infant attachment were measured. The data was analyzed by using mean, standard deviation and one way ANOVA.  Major findings were as followed. There was a statistically significant difference of body weight avesage score among the 1st experimental group, the 2nd experimental group and control group at P <.05. There was not statistically significant difference of body length  and head circumference avesage score among the 1st experimental group, the 2nd experimental group and control group at P < .05. There was a statistically significant difference of maternal infant attachment avesage score among the 1st experimental group, the 2nd experimental group and control group at P <.05.

Downloads

Published

2022-04-11