พัฒนาการ เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรมการพัฒนาชุมชน ในเขตภาคตะวันออก

Development of Pre-School Children in the Child Development Centers, Depaetment of Community Development in Eastern Area

Authors

  • อารีรัตน์ ขำอยู่
  • มณีรัตน์ ภาคธูป
  • จินตนา วัชรสินธุ์
  • นุจรี เนตรทิพย์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

เด็ก, การดูแล, เด็กก่อนเข้าเรียน, ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน, โรงเรียนอนุบาล

Abstract

การวิจัยเชิงสํารวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัด และประเมินพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรมการพัฒนาชุมชน ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก และเพื่อเปรียบเทียบ พัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน จําแนกตามอายุ อาชีพ ระดับการศึกษาของบิดามารดา ตลอดจน ลักษณะครอบครัว ชุมชนที่อยู่อาศัย และเพศของเด็ก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กก่อนวัยเรียน จํานวน 360 คน อายุ 3-5 ปี ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) จากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กรมการพัฒนาชุมชน ในเขตจังหวัดภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบทดสอบพัฒนาการ DDST  (Denver Development Screening Test) ข้อมูลที่ได้นํามาวิเคราะห์หาค่าความถี่ร้อยละ ของข้อมูลที่เป็นลักษณะทั่วไป ของกลุ่มตัวอย่างและระดับพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการใช้ภาษาและการได้ยิน และด้านการช่วยเหลือตนเองและ  สังคม หาค่าเฉลี่ยและความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนพัฒนาการ (Development Quotient) และทดสอบความแตกต่างของคะแนน เฉลี่ยพัฒนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยทดสอบค่าที (Independent t-test)  ผลการวิจัยพบว่า เด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่ มีพัฒนาการโดยรวมอยู่ในระดับเร็วกว่าปกติ โดยมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวอยู่ในระดับปกติ และมีพัฒนาการด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการใช้ภาษาและการได้ยิน และด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมในระดับเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุ อาชีพ และระดับการศึกาของบิดามารดา ตลอดจนลักษณะครอบครัวแตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เด็กก่อนวัยเรียนเพศชาย และเพศหญิงมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเด็กที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง มีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการสูงกว่าเด็ก ที่อาศัยอยู่ในชุมชนชนบท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  The purpose of this survey research was to examine and compare the development of pre-school children with different backgrounds of gender, family type, living area, and their parents' backgrounds including age, educational level, and occupation. The sample of 360 pre-schools aged 3-5 years from the Child Development Centers, Department of Community Development in Eastern area of Thailand was selected by using multistage sampling. The instruments used for data collection were the demographic characteristic questionnaire and the Denver Developmental Screening Test (DDST). The descriptive  statistics and t-test were used to analyze the data  The results demonstrated that pre-school children in this study had faster development than average. The pre-school children had normal development in gross motor development and had faster development than average in fine motor-adaptive development, language development, and personal-social development. Pre-school children who lived in urban areas had faster development than those in rural areas at the significant level of .05. None of the following variables showed statistically ignificant differences in the children's developmental scores: gender, family type, and parent's age, educational level, and occupation.

Downloads

Published

2022-06-09