การส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของนักศึกษาชาย มหาวิทยาลัยบูรพา

Promotion of AIDS Preventive Behavior in Male Students at Burapha University

Authors

  • วัลภา ผิวทน
  • วริยา วชิราวัธน์

Keywords:

มหาวิทยาลัยบูรพา, นักศึกษา, โรคเอดส์, การป้องกันและควบคุม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับ ความรู้เรื่องโรคเอดส์ โดยการใช้กระบวนการกลุ่ม กับกลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับความรู้ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา ได้กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชายมหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 106 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 53 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 53 คน ทําการเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ห่างกัน 24 สัปดาห์ ทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (paired samples t-test และ Grouped's t-test)  ผลการวิจัยพบว่า  1. กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ เจตคติต่อโรคเอดส์และพฤติกรรม การป้องกันโรคเอดส์ภายหลังได้รับความรู้เรื่องโรคเอดส์ โดยใช้กระบวนการกลุ่มสูงกว่าก่อน การได้รับความรู้เรื่องโรคเอดส์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < .001)  2. กลุ่มทดลองที่ได้รับความรู้เรื่องโรคเอดส์ โดยการใช้กระบวนการกลุ่มมีคะแนน ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ เจตคติต่อโรคเอดส์ และพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับความรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < .001, P < .001 และ P < .001 ตามลำดับ)  The main purpose of this research was to compare knowledge, attitude and AIDS preventive behavior between male students who gained knowledge about HIV / AIDS with group process and who did not participate in group process. The sample consisted 106 male students at Burapha University. The sample was randomed into experimental and comparison group. The experimental and control students were equally divided into group of 53. Data were collected at the beginning of the experiment and followed up 24 weeks. Data were analysed with percentages averages and standard deviation. Comparisons were conducted by utilizing paired samples t-test and grouped' s t-test  The results of the study revealed that:  1. The post-test score of knowledge, attitude and behavior of the experimental group were significantly higher than the pre-test score (P<.001).  2. The experimental group had significantly higher of knowledge, attitude and behavior than the comparison group (P < .001, P < .001 and P < .001).

Downloads

Published

2022-06-09