การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายและประโยชน์ของการให้บริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ : กรณีโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

The analysis of expenditure and utility of the elderly health care service : Chronic non-communicable disease

Authors

  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ

Keywords:

ผู้สูงอายุ, การดูแล, โรงพยาบาล, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย ทางตรงและทางอ้อมในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและประโยชน์ที่เกิดขึ้น ทําการศึกษาจากผู้ที่มีอายุระหว่าง 60-74 ปี ที่มา รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐบาล และรับบริการที่บ้าน รวมจํานวน 400 คน และ บุคลากร ผู้ให้บริการจํานวน 157 คน ผลการศึกษาพบว่าโรคที่ผู้สูงอายุ ระบุว่าเจ็บป่วยมากที่สุด ได้แก่ โรคความดัน โลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ คิดเป็นร้อยละ 46, 38 และ 17 ตามลําดับ ค่าใช้จ่ายทางตรงของผู้ให้ บริการเมื่อยกเว้นผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง มีค่าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 7,040.45 บาทต่อผู้สูงอายุ 1 คน (S.D. = 858.34 บาท) ค่าใช้จ่ายทางตรงของผู้รับบริการ เป็นค่าเดินทางเฉลี่ยปีละ 445.98 บาท (S.D. = 725.70  บาท) ค่าอาหารสําหรับผู้สูงอายุ มีค่าเฉลี่ยปีละเท่ากับ 75.00 บาท (S.D. = 146.30 บาท) ค่าใช้จ่ายทางอ้อม ของผู้รับบริการ เป็นค่าอาหารสําหรับญาติเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 23.48 บาท (S.D. = 86.61 บาท) การสูญเสีย โอกาสในการทํางานของผู้สูงอายุ เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 289.49 บาท (S.D. = 1,160.86 บาท) และของญาติ ประมาณเป็นตัวเงินที่เสียจริงตามการประเมินของญาติ เฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 694.02 บาทต่อ (S.D. = 3,769.16 บาท) หรือเฉลี่ยปีละ 2,585.76 บาทต่อผู้สูงอายุ 1 คน เมื่อประมาณจากค่าแรงเฉลี่ย 150 บาทต่อวัน ความ พึงพอใจต่อการปฏิบัติงาน ของผู้ให้บริการอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ปฏิบัติงานที่บ้านจะพึงพอใจมากกว่าผู้ ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล และกลุ่มแพทย์ กลุ่มพยาบาล จะพึงพอใจมากกว่ากลุ่มผู้ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย (aid) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของผู้รับบริการอยู่ในระดับสูง โดยผู้ที่รับบริการที่บ้าน จะพึงพอใจมากกว่าผู้รับบริการที่โรงพยาบาล ค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเท่ากับ ร้อยละ 84.28 (S.D.= ร้อยละ 27.77) ของภาวะสุขภาพที่ดีที่สุดที่พึงปรารถนา โดยเพศชายมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าเพศหญิง ผู้ที่รับบริการที่โรงพยาบาลจะมีคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้ที่ รับบริการที่บ้านอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05   The purpose was to analyze the direct and indirect expenditure for elderly patient (60-74 years old) with chronic non communicable diseases in the eastern region of Thailand. Samples were out patient and home health care patient of sample government hospitals. The 400 samples and 157 health providers. The main diseases were hypertension, diabetes mellitus, and heart disease which were 46% 38% and 17% respectively. The average direct expenditure for medical cost, if exclude chronic renal failure, was 7,040.45 baht per year for each elderly patient (S.D. = 858.34 baht). The average direct expenditure of each client for transportation was 445.98 baht per year (S.D. = 725.70 baht). The average cost of food was 75.00 baht per year (S.D. = 146.30 baht). The indirect expenditure was only the cost for food of the relative at 23.84 baht per year (S.D. = 86.61 baht). No one had paid for accommodation and others. The average opportunity cost of elderly patient was 289.49 baht per year (S.D. = 1,160.86 baht). The opportunity cost for relative for the day devoted to each patient was 694.02 baht (S.D. = 3,796.16 baht). The work satisfaction of the health providers were at middle level. Those who worked at home health care services had more satisfaction than those who worked at the hospitals. The medical doctors and the nurses' satisfaction were significantly higher than The clients' satisfaction were in high level. The home health care patient were more satisfied than out patient significantly. The quality of life was 84.28% (S.D. = 27.77%). The male elderly reported lower quality of life than the female, whereas the out patient had higher quality of life than the home health care client at significant level of .05.

Downloads

Published

2022-06-09