ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยและวิธีการเผชิญความเครียดของมารดาที่บุตร คลอดก่อนกำหนดเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต

Uncertainty in illness and coping strategies of mothers with premature infants admitted in neonatal intensive care unit

Authors

  • นฤมล ธีระรังสิกุล
  • ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
  • อัญชัญ เตชะวีรากร

Keywords:

มารดาและบุตร, ทารกคลอดก่อนกำหนด, การคลอดก่อนกำหนด, ความเครียด (จิตวิทยา), การเป็นมารดา, สตรี, สุขภาพจิต

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive research) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ของบุตรและวิธีการเผชิญความเครียดของมารดา ที่มีบุตรคลอดก่อน  กําหนดที่เข้ารับการรักษา ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาที่มีบุตรคลอดก่อนกําหนดเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต จํานวน 84 คน โรงพยาบาลชลบุรี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 ถึงเดือนสิงหาคม 2544 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบบันทึกข้อมูลส่วนตัวของมารดา แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ของมิเชล (Mishel, 1983) และแบบสอบถามวิธีการ เผชิญความเครียดของจาโลวิค (Jalowiec, 1988) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  ผลการวิจัย พบว่ามารดาที่มีบุตรคลอดก่อนกําหนด มีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของบุตร อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 99.38 , SD = 9.9) โดยมีความรู้สึก ไม่แน่นอนด้านความคลุมเครือเกี่ยวกับความ เจ็บป่วยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 43.62, SD = 5.84) และใช้วิธี การเผชิญความเครียดด้านการแก้ปัญหาทางอ้อมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 38.76, SD = 7.73) ด้านความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรพบว่า อายุ ระดับการศึกษาและลําดับที่ของบุตรมีความสัมพันธ์ทางลบ กับความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และพบว่าความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางลบ กับวิธีการเผชิญความเครียดด้านการแก้ปัญหาทางอ้อม (r = -.199, p < 0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะว่าพยาบาล ควรให้ความสําคัญในการช่วยมารดาที่มีบุตรคลอด ก่อนกำหนดลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย โดยเฉพาะการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค และแผนการรักษา ตลอดจนการให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย และการใช้วิธีการเผชิญความเครียดอย่างเหมาะสม  The purpose of this descriptive study was to examine the relationships among uncertainty in illness and coping strategies of mothers with premature infants. Purposive sampling was used to select 84 mothers whose premature infants were admitted in neonatal intensive care unit at Chonburi Hospital during September, 2000 to August, 2001. Data were collected by using 3 questionnaires, : Demographic questionnaire, Parent's Perception of Uncertainty in illness (Mishel, 1983) and Jalowiec's coping scale (Jalowiec, 1988).  The result of this study revealed that mothers with premature infants had high uncertainty in illness scores (ค่าเฉลี่ย = 99.38, SD = 9.9) and found that ambiguity in illness was the highest source of uncertainty (average = 43.62, SD = 5.84). Most mothers with premature infants used palliative coping (average = 38.76, SD = 7.73) as a coping strategy. In addition, age level, education and birth order showed statistically negative correlation to uncertainty in illness. Moreover, there was statistically negative relationship between uncertainty in illness and palliative coping (r =-.199, p < 0.05).  The findings suggest that nurses should realize and help mothers with premature infants to reduce uncertainty in illness by providing information about disease treatment patterns, promoting family's participation in patient care and enhancing appropriate coping strategies.

Downloads

Published

2022-06-09