First-time mother's views of breastfeeding support from nurses

มุมมองของแม่ครั้งแรกต่อการสนับสนุนช่วยเหลือจากพยาบาลในการให้นมแม่

Authors

  • จินตนา วัชรสิทธุ์

Keywords:

Lactation, Breast feeding, การให้นม, การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Abstract

Purpose : To gain insights into the perceptions of first-time mothers regarding nurse's support  of breastfeeding.  Study Design : Phenomenology  Methods : Audiotaped interviews were conducted with 20 primiparous breastfeeding mothers within the first month after giving birth vaginally to healthy term infants. Data analysis was concurrent with data collection, and trustworthiness of the data was established.  Results : Nurses provided emotional, informational, and tangible support. Nonsupportive behaviors were also identified, including a sense that the nurse was in a hurry, failed to offer breastfeeding assistance, and was inflexible while working with the mother and infant. Clinical Implications : Nurses can contribute significantly to the successful initiation of and  continuation of breastfeeding, and provide new mothers with the confidence and reassurance critical for breastfeeding success.  วัตถุประสงค์ : เพื่อเข้าใจการรับรู้ของสตรีที่เป็นแม่ ครั้งแรกเกี่ยวกับการให้นมแม่ โดยมีพยาบาลคอยให้ การสนับสนุน  วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา เก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์และบันทึกเทปจากสตรี ที่เป็นแม่ครั้งแรก 20 คน ที่ให้นมแม่ในเดือนแรก หลังจากคลอดปกติครบกําหนดทางช่องคลอด ทําการ วิเคราะห์ข้อมูล เก็บข้อมูลและทดสอบความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลไปด้วยพร้อมกัน  ผลการศึกษา : พบว่า พฤติกรรมของพยาบาล ในการดูแลสตรีที่เป็นแม่ครั้งแรกเกี่ยวกับการให้นมแม่ ประกอบด้วยทั้งพฤติกรรมที่สนับสนุนช่วยเหลือและ ไม่สนับสนุนแม่ในการให้นมบุตร ดังนี้  พฤติกรรมที่ช่วยเหลือให้การสนับสนุน  1. ด้านอารมณ์ การเอาใจใส่ห่วงใย ให้ความมั่นใจ ตั้งใจช่วยเหลือด้วยความอดทน และเข้าใจ ความรู้สึกของแม่ อยู่เป็นเพื่อนขณะแม่ให้นม  2. ด้านข้อมูลข่าวสาร การตอบคําถามด้วย ท่าทีที่เข้าใจ  3. ด้านอุปกรณ์ประกอบ การแจกแผ่นพับ ความรู้ในการให้นมแม่ ให้ดูวีดีโอเทป และให้คําปรึกษา ทางโทรศัพท์ ตอบคําถาม ข้อสงสัย เกี่ยวกับการให้นมบุตร  พฤติกรรมที่ไม่สนับสนุน เช่น การที่พยาบาลทํางาน ยุ่งตลอดเวลาและรีบเร่งในการช่วยเหลือ ไม่มีเวลา  ติดตามดูแลความสะดวกสบายในการให้นม ขาดการประเมินความต้องการของแม่ ที่เหมาะสมให้คําแนะนํา ที่ขัดแย้งกัน ขาดความเอาใจใส่ ห่วงใย มีความรู้จํากัดเกี่ยวกับการให้นมแม่ หรือไม่มีความสามารถในการแก้ปัญหา ล้มเหลวในการช่วยเหลือการให้นมแม่ใน ชั่วโมงแรกหลังคลอด ให้บริการนมผสมเร็วและง่ายเกินไป การประยุกต์ผลการวิจัยในทางคลินิค พยาบาลใช้ข้อค้นพบที่มีนัยสําคัญ เหล่านี้ไปใช้ในการช่วยเหลือ สนับสนุนส่งเสริมความสําเร็จในการให้นมแม่ตั้งแต่ ระยะเริ่มแรกและเกิดความต่อเนื่องของการให้นมแม่ โดยเฉพาะแม่ครั้งแรกที่ต้องคอยให้กําลังใจและความมั่นใจ

Downloads

Published

2022-06-09