การศึกษาการรับรู้ภาวะสุขภาพ ความเครียด และการออกกำลังกายของสตรีไทยวัยหมดประจำเดือน

A Study of Perceived Health Status, Stress, and Exercise in Thai Menopausal Women

Authors

  • รัชนี สรรเสริญ

Keywords:

วัยหมดระดู, สุขภาพและอนามัย, ความเครียด (จิตวิทยา), การออกกำลังกายสำหรับสตรี

Abstract

          สตรีวัยหมดประจําเดือนเป็นกลุ่มประชากร ที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ  อารมณ์และสังคม จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความสําคัญยิ่ง และจําเป็นต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะสุขภาพ ความเครียดและการออกกําลังกายของสตรีไทยวัยหมดประจําเดือนและ เปรียบเทียบการรับรู้ภาวะสุขภาพและความเครียด ของสตรีวัยหมดประจําเดือนที่มีการออกกําลังกายต่างกัน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบของนิวแมนมา เป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีวัยหมดประจําเดือนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จํานวน 410 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบวัดความเครียด และแบบประเมินการออกกําลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา คํานวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ร้อยละ 45 ของสตรีวัยหมดประจําเดือนกลุ่มตัวอย่าง มีการปฏิบัติการออกกําลังกาย อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 60 มีการรับรู้ภาวะสุขภาพ ในระดับปานกลาง สําหรับความเครียด พบว่า ร้อยละ 68 มีความเครียดอยู่ในระดับต่ำ การรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการออกกําลังกายอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (r=.533, p<.01) แต่ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับการออกกําลังกายอย่างมีนัย  สําคัญทางสถิติ (r=-.244, p< .01) และยังพบว่ากลุ่มสตรีวัยหมดประจําเดือน ที่มีระดับการออกกําลังกาย มากมีการรับรู้ภาวะสุขภาพดีกว่ากลุ่มที่มีระดับการ ออกกําลังกายน้อยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) นอกจากนี้กลุ่มสตรีวัยหมดประจําเดือนที่มีระดับ การออกกําลังกายมากมีความเครียดน้อยกว่ากลุ่มที่มี ระดับการออกกําลังกายน้อยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) ผลการศึกษานี้เสนอแนะว่าการออกกําลังกายเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่ง่าย ปลอดภัย และมีประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยหมดประจําเดือน  Menopausal women, commonly experience complex life transitions, are an important population with needs to be promoted their health. Guidid by Neuman's Systems Model, the main purposes of this study were to examine the relationships among perceived health status, stress, and exercise and compare perceived health status and stress among different levels of exercise. Data were collected on 410 Thai menopausal women living in Chon Buri province. Research instruments consisted of General Health Perception Questionnaire, General Health Questionnaire, and Exercise Assessment. Descriptive statistics, Pearson's product moment correlation, and One-way ANOVA were performed to analyze the data.  The results revealed that 45% of the menopausal Women reported participating in exercise at a moderate level, 60% of the subjects rated a perceived health status at a moderate level, and 68% of the subjects rated at a low level of stress. There was positive statistically significant relationship between exercise and perceived health status (r = .533, p<.01). In contrast, there was negative statistically significant relationship between exercise and stress (r = -.244, p<.01). These menopausal women who participated with high level of  exercises had significantly greater scores of the perceived health status than those who did with low level of exercises (p < .01). In addition, these subjects who participated with high level of exercises had significantly lower scores of the stress than those who did with low level exercises (p< .01). The findings suggest that exercise may be a safe, simple, and cost beneficial nursing intervention for Thai menopausal women health promotion.

Downloads

Published

2022-06-09