ประสิทธิผลของการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของสถานผดุงครรภ์เอกชนในภาค ตะวันออก ประเทศไทย

Effectiveness of the Primary Care Services Provided at Midwifery Private Clinics in the Eastern Region Thailand

Authors

  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ

Keywords:

สถานผดุงครรภ์, พยาบาลผดุงครรภ์, ประสิทธิผลของการให้บริการ, การให้บริการระดับปฐมภูมิ

Abstract

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจเพื่อศึกษา การให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของสถานผดุงครรภ์เอกชนในภาคตะวันออกของประเทศไทย และประสิทธิผลของการให้บริการดังกล่าว โดยใช้กรอบแนวคิดการศึกษาที่ครอบคลุมองค์ประกอบด้าน โครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการให้บริการ และผลลัพธ์ของบริการตามแนวคิดของโดนาบีเดียน (Donabedian, 1980) กลุ่มตัวอย่างเป็นสถานผดุงครรภ์เอกชนที่ ดําเนินงานโดยพยาบาลวิชาชีพ 12 แห่งและประชาชน ที่ใช้บริการที่สถานบริการนั้นจํานวน 570 ราย ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จากสถานบริการใน 12 ตําบล 3 อําเภอ ในจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีสถานผดุงครรภ์เอกชนมากที่สุดในภาคตะวันออก เก็บข้อมูลด้วยแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบ ดังนี้  สถานผดุงครรภ์เอกชนที่ศึกษาดําเนินการโดย พยาบาลวิชาชีพระดับปริญญาตรีทั้ง 12 แห่ง ทุกคน รับราชการอยู่ในโรงพยาบาลระดับต่าง ๆ รวมทั้งสถานีอนามัย เปิดให้บริการนอกเวลาราชการในวันธรรมดาเฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมงและวันหยุดราชการ เฉลี่ย 5 ชั่วโมง ผู้รับบริการเฉลี่ยวันละ 10 คน พยาบาลทั้งหมดไม่ได้ทําแฟ้มประวัติผู้รับบริการมีแต่การบันทึก การให้บริการแต่ละวันในสมุด  พยาบาลให้บริการซักประวัติสุขภาพ เป็นส่วนใหญ่ มีตรวจร่างกายตามระบบต่างๆ แต่ไม่มาก พยาบาลให้คําแนะนําการดูแลสุขภาพ และการรับประทานยาในผู้รับบริการส่วนใหญ่ รวมทั้งการให้บริการที่บ้านด้วย ในกรณีที่ผู้รับบริการไม่สามารถ เดินทางมารับบริการที่สถานผดุงครรภ์ได้ ปัญหาสุขภาพของผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นอาการของระบบทางเดินหายใจ โดยพบว่าป่วยเป็นไข้หวัดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 20.9 รองลงมาคือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แผลอักเสบ และอาการอุจจาระร่วง ยาที่ใช้เพื่อให้การรักษาพยาบาลส่วนมาก คือ ยาแก้ปวด ลดไข้ พาราเซทตามอล (paracetamol) รองลงมาคือ ยาต้านจุลชีพ ชื่อ อะม็อกซีไซลิน (amoxycillin) การให้ยาส่วนใหญ่มีระยะเวลาให้การรับประทานยา 3 วัน ยกเว้นยาต้านจุลชีพจะให้เป็นเวลา 5 วัน และ 7 วัน ผลการรับบริการพบว่า ส่วนใหญ่มีอาการดีขึ้นหลังรับบริการ 7 วัน คิดเป็นร้อยละ 64.9 ผู้รับบริการส่วนใหญ่ ต้องการมารับบริการที่สถานผดุงครรภ์เดิม เมื่อมีการเจ็บป่วยครั้งต่อไป และมีความพึงพอใจในกิจกรรม การบริการเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ มากกว่า 90  The purpose of this research was to study the effectiveness of primary care service at  midwifery private clinics in the eastern region of Thailand. The effectiveness conceptual frame work included the basic structure of service, the process and the outcome that was addressed by Donabedian (1980). Twelve midwifery private clinics and 570 clients of those private clinics in 12 subdistricts, in 3 districts of Rayong province, were studied by multistage random sampling. The data were collected by observation form, interview and self directed questionnaire. Descriptive statistics were used for data analysis. The research result was as follows.  All of the midwifery private clinics were staffed by professional nurses, who worked  at government hospitals at different levels and also in the community health centers. The working time in the clinics was in addition to the hospital work, the average working time was 3 hours workdays and 5 hours on weekends and holidays. There was an average of ten clients per day. None of the clinics maintained patient files, but only daily notebook records. Most of the nurses had taken patient histories, but few of them had given physical examinations. These nurses provided health education regarding self care and drug administration. In addition they provided instruction for their clients needing home care because they were unable to visit the clinic. The main problem of the clients were respiratory complaints such as the common cold (20.9 %). Other problems included muscle pain, infected wounds, diarrhea etc. The analgesic drug, paracetamol, was most commonly used; the antibiotic drugs were the second priority. The duration period of treatment was 3 days. . Sixty five percent of clients got well after 7 days of treatment. They were hopeful of getting the same clinics the next time they became ill. More than 90% of the clients were satisfied with the service.

Downloads

Published

2022-06-09