ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มการเป็นบิดามารดาที่กระทำทารุณกรรมต่อบุตรวัย เรียน

Factors Affecting Potential for Abusive Parenting of Preschoolers

Authors

  • ราตรี อร่ามศิลป์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

การทารุณเด็ก, ความรุนแรงในครอบครัว, บิดามารดาและบุตร

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้ม ของการเป็นบิดามารดาที่กระทําทารุณกรรมด้านร่างกาย ต่อบุตรวัยก่อนเรียน และปัจจัยที่มีต่อแนวโน้มการเป็น บิดามารดาที่กระทําทารุณกรรมด้านร่างกายต่อบุตรวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ บิดา (จํานวน 69 คน) และมารดา (จํานวน 111 คน) ของเด็กนักเรียน อนุบาลอายุ 3 ปี ถึง 5 ปี 11 เดือน ที่เรียนอยู่ใน โรงเรียนอนุบาลจังหวัดจันทบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างโดย การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ ถดถอยพหุแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของบิดา/มารดา ด้านบริบท ของแหล่งความเครียดและการสนับสนุน ด้านคุณลักษณะเฉพาะทางของเด็ก สามารถร่วมทํานายแนวโน้มการเป็นบิดามารดาที่กระทําทารุณกรรมด้าน ร่างกายต่อบุตรวัยก่อนเรียน ได้ร้อยละ 37.4 (p<.001) เมื่อพิจารณาตัวแปรทํานายแต่ละตัวพบว่าตัวแปรที่มี อิทธิพลต่อแนวโน้มการเป็นบิดามารดาที่ กระทําทารุณกรรมด้านร่างกายต่อบุตรวัยก่อนเรียน ได้แก่ การศึกษาของบิดาหรือมารดา (ß = .22, p< .05) สัมพันธภาพของคู่สมรส (ß = .27, p< .001) ประวัติการถูกทารุณกรรมในวัยเด็กของบิดามารดา (ß = .20, p< .01) และพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน (ß =.38, p< .05) โดยพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กวัยก่อนเรียน เป็นปัจจัยที่สําคัญที่สุดมีอิทธิพลต่อแนวโน้ม การเป็นบิดามารดาที่กระทําทารุณกรรมด้านร่างกาย ต่อบุตรวัยก่อนเรียน  The purposes of this research were to assess potential for physical abusive parenting among parents of preschoolers and to examine factors affection potential for their physical abusive parenting. A stratified random sample of 69 fathers and 111 mothers of preschoolers were recruited from kindergarten schools in Chantaburi province. Data were collected by self-report questionnaires and were analyzed by using simultaneous multiple regression.  Results of the study revealed that the combination of all predictor variables could explained 37.4% of variance of potential for physical abusive parenting (p< .001). Only parent's education (ß = .22, p< .05), marital relationship (ß = .27, p< .001), parental history of child  abuse (ß = .20, p< .01), and child temperament (ß = .38, p< .05) were independently and significantly associated with the parental's potential for physical child abuse. It was also found that child temperament was the most important predictor of potential for physical abusive parenting.

Downloads

Published

2022-06-09