ปัจจัยด้านครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็กวัยเรียน

Family Factors Associated with Dental Health Behavior of Schoolchildren

Authors

  • ระพีภัทร์ ไชยยอดวงษ์
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

ทันตกรรมเด็ก, ฟันผุในเด็ก, เด็ก

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมทันตสุขภาพ ของเด็กวัยเรียนและปัจจัยด้าน ครอบครัวที่มีอิทธิพลและร่วมทํานายพฤติกรรม ทันตสุขภาพของเด็กวัยเรียน โดยปัจจัยด้านครอบครัวที่ศึกษาได้แก่ รายได้ของครอบครัว การศึกษาของมารดา การสอนของมารดา การเป็นแบบอย่างของมารดา การให้สิ่งเสริมแรงจากมารดา การได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกครอบครัว การเข้าถึงแหล่งบริการทันตกรรม การเข้าถึงแหล่งขายขนมสําหรับเด็ก การเข้าถึงแหล่งขายอุปกรณ์ทําความสะอาดฟันเด็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 - 6 ในโรงเรียนสังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติ อําเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี และมารดาของนักเรียน จํานวน กลุ่มละ 180 คนเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 สําหรับมารดาตอบ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล การสอนของมารดา การเป็นแบบอย่างของมารดา การให้สิ่งเสริมแรงจากมารดา และการเข้าถึงแหล่งบริการทันตกรรม แหล่งขายขนมสําหรับเด็ก และแหล่งขายอุปกรณ์ทําความสะอาดฟันเด็ก ชุดที่ 2 สําหรับนักเรียนตอบ ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมทันตสุขภาพ และการได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบปกติ  ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมทันตสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ ปัจจัยด้านครอบครัวแต่ละ ปัจจัยไม่มีอิทธิพลและไม่สามารถร่วมทํานาย พฤติกรรมทันตสุขภาพของเด็กวัยเรียนโดยรวมได้ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่เมื่อแยกพฤติกรรมทันตสุขภาพเป็นรายด้าน พบว่า รายได้ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ฟลูออไรด์ และพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการ ใช้ฟลูออไรด์ และพฤติกรรมการบริโภคได้ร้อยละ 17.2 และ 14.7 ตามลําดับ  The purposes of this study were to examine dental health behavior of schoolchild- dren and to identify family factors affecting dental health behavior of schoolchildren. The samples consisted of 180 pairs of schoolchildren grade 10-12 and their mothers in Amphur Samchuk, Suphanburi Province. The instrument of this study was a set of questionnaire that composed of the questionnaire for mothers including personal background, maternal teaching, maternal role model, maternal reinforcement, and physical environment; and the questionnaire for school-children including personal status, dental health behavior, and family supporting. Descriptive statistic and simultaneous multiple regression were used to analyze the data.  The major findings revealed that dental health behavior of schoolchildren was rated at a moderate level. Family factors were not statistically predictive overall dental health behavior of schoolchildren. However, family income was statistically associated with the use of fluoride and food consumption behavior of schoolchildren.

Downloads

Published

2022-06-09