ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ บุคลิกภาพที่เข้มแข็งและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

The Relationships Between Health Belief, Hardiness and Self-Care Behavior in Chronic Renal Failure Patients

Authors

  • รัชนีย์ ไกรยศรี
  • ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา
  • วัลภา ผิวทน

Keywords:

ไตวายเรื้อรัง, ผู้ป่วย, ไต, โรค, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, การดูแล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพ บุคลิกภาพที่ เข้มแข็ง และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง จํานวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูล  ส่วนบุคคล และแบบสอบถาม 3 ชุด ได้แก่ แบบวัดความเชื่อด้านสุขภาพ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น, แบบวัดบุคลิกภาพที่เข้มแข็ง (HRHS : Pollock & Duffy, 1990) และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติบรรยายที่ใช้ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงที่ใช้ได้แก่ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการวิจัยพบว่า  1. ความเชื่อด้านสุขภาพของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังอยู่ในระดับสูง บุคลิกภาพที่เข้มแข็งอยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับสูง 2. ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.001) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน มีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .001) การรับรู้ถึงความรุนแรงของโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .001) การรับรู้ถึงประโยชน์ ในการปฏิบัติตนตามแผนการรักษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .01) การรับรู้ถึงอุปสรรคในการปฏิบัติตน ตามแผนการรักษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .001) แรงจูงใจด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .001) และสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยกับพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม การดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.001)  3. บุคลิกภาพที่เข้มแข็งโดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .001)เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังว่าตนเองสามารถควบคุมภาวะ ความเจ็บป่วยจากไตวายเรื้อรัง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .001) การรับรู้ถึงความสามารถของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ในการเห็นคุณค่าและเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นความมุ่งมั่นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .001)และการรับรู้ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการคาดการณ์ ว่าความเปลี่ยนแปลงจากความเจ็บป่วย จากไตวายเรื้อรัง เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป ซึ่งเป็นความท้าทายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .001) 4. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าบุคลิกภาพที่เข้มแข็งด้านการควบคุม ความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้ถึงโอกาสเสี่ยงต่อ การเกิดภาวะแทรกซ้อน และความเชื่อด้านสุขภาพ ด้านการรับรู้ถึงอุปสรรคในการปฏิบัติตนตามแผนการรักษา เป็นกลุ่มตัวทํานายพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p< .05) โดยสามารถอธิบายความผันแปรได้  ร้อยละ 42.72 ซึ่งสามารถเขียนสมการทํานายพฤติกรรม การดูแลตนเองในรูปคะแนนดปได้ ดังนี้ (พฤติกรรมการดูแลตนเอง) = 1.28+.26 (บุคลิกภาพที่เข้มแข็งด้าน การควบคุม)+.24(ความเชื่อด้านสุขภาพ ด้านการรับรู้ ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน) +.12 (ความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้ถึง อุปสรรคในการปฏิบัติตนตามแผนการรักษา) The main purpose of the research was to study the relationships between health belief, hardiness and self-care behaviors in chronic renal failure patients. The sample consisted of 180 patients receiving supportive treatment at an out-patient renal clinic. The questionnaires composed of a Health belief scale, Pollock and Duffy 's Health Related Hardiness Scale (HRHS : Pollock & Duffy, 1990), and a self-care behavior scale. The descriptive statistics used were distribution, percentage, mean, standard deviation as well as inferential statistics including Pearson 's product moment correlation co-efficient and a stepwise multiple regression analysis.  The results revealed that health belief, hardiness and self-care behaviors in chronic renal failure patients were rated at a good level. There were significant and positive correlations between the following factors : health belief and self-care behavior (p< .001) ; perception of susceptibility and self-care behavior (p< .001) ; perception of severity and self-care behavior (p< .001) ; perception of benifits and self-care behavior (p< .01) ; perception of barriers and self-care behavior (p< .001) : perception of motivation and self-care behavior (p< .001) and patient-nurse interactions and self-care behavior (p< .001). Other significant and positive correlations occurred between the factors of hardiness and self-care behavior (p<.001), control and self-care behavior (p< .001), commitment and self-care behavior (p< .001) and personal challenge and self-care behavior (p< .001). The results of the stepwise multiple regression analysis showed that 42.72 percent of the variance of self-care behavior was accounted for by three significant predictors, namely the characteristic of hardiness and the control score, the health belief in susceptibility, and the health belief in barriers score. The regression equation in raw scores was as follows : (self-care behavior)=1.28+.26(characteristic of hardiness for control)+.24(health belief in susceptibility) +.12 (health belief in barriers)

Downloads

Published

2022-06-09