ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

Stress and Coping of Caregivers of Stroke Patients

Authors

  • พรชัย จูลเมตต์
  • ยุพิน ถนัดวณิชย์

Keywords:

ผู้ป่วย, การดูแล, ความเครียด (จิตวิทยา), หลอดเลือดสมอง, โรค

Abstract

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเครียดและวิธีการเผชิญ ความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่พา ผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จ.ชลบุรี ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน 2543 จํานวน 100 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กําหนดไว้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามการรับรู้ความเครียดและแบบสอบถาม การเผชิญความเครียด การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ผู้ช่วยวิจัย จากนั้นผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง และใช้  วิธีการเผชิญความเครียด ทั้งสามด้านผสมผสานกัน โดยมีสัดส่วนวิธีการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับ  ปัญหามากที่สุด รองลงมาคือด้านการแก้ปัญหาทางอ้อม และด้านการจัดการกับอารมณ์น้อยที่สุด  ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาล ควรจะได้มีการประเมินระดับความเครียดของผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และช่วยให้ผู้ดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองสามารถเผชิญความเครียดได้อย่าง เหมาะสม ตลอดจนเป็นแนวทางสําหรับการบริหาร การวิจัยและการจัดการศึกษาพยาบาลต่อไป  The main purpose of this descriptive research was to assess the level of stress and  coping styles of caregivers of stroke patients. The subjects were caregivers of stroke out patients who attended the out patient department, Queen Sawangwattana Memorial Hospital, Chonburi Province during May to September, 2000. A hundred subjects were purposively selected. The instruments used in this study were the Demographic Data Interview Form, the Perceived Stress Questionaire (PSQ), and the Jalowiec Coping Scale (JCS). Data were collected by  research assistants and analyzed using descriptive statistics.  The results of this study revealed that the stress of stroke patient caregivers was at moderate level. All caregivers used a combination of coping styles. The proportion of coping styles the caregivers used from the highest to the lowest was confrontive, palliative and  emotive styles.  Findings of this study suggest that nurses should assess the level of stress of caregivers of stroke patients and help them to effectively cope with the stress. Implications for nursing administration, research and education were discussed.

Downloads

Published

2022-06-09