ความคิดวิจารณญาณ : ตอนที่ 2 การพัฒนาความคิดวิจารณญาณ

Critical Thinking : Part II Development of Critical Thinking

Authors

  • รัชนีวรรณ รอส

Keywords:

ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ความคิดและการคิด, ทักษะทางการคิด, การพยาบาล, การศึกษาและการสอน

Abstract

จะพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความคิดวิจารณญาณได้อย่างไร?  อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้เมื่อตอนที่แล้วว่า การพัฒนาให้เกิดความคิดวิจารณญาณเป็นสิ่งที่สามารถ ทําได้ แต่ต้องอาศัยความตั้งใจจริงและความต่อเนื่อง เหมือนนักกีฬาที่ดีต้องฝึกฝนด้วยความอดทนอย่าง สม่ำเสมอ เช่น ไทเกอร์ วูด ไม่ได้ผงาดขึ้นมาเป็นนักกอล์ฟระดับโลกได้ด้วยการตีกอล์ฟเป็นงานอดิเรก แต่การฝึกฝนที่เขาทําเป็นความต่อเนื่องและเป็นระบบ ระเบียบแบบระดับมืออาชีพ  ในยุคสมัยของการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด ของพยาบาลและครูพยาบาล ที่ทํางานอยู่ในโรงพยาบาล  หน่วยงานสาธารณสุข และโรงเรียนพยาบาล การมีความคิดวิจารณญาณ ของพยาบาลและนักเรียนพยาบาลมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อนโยบาย “30 บาท” ได้เข้ามีบทบาทในตลาดสุขภาพ โดยโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งก็เสนอตัวเข้ามา สมทบให้บริการแก่ผู้ป่วยและผู้รับบริการ โรงพยาบาลของรัฐก็คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้ เพราะหากลูกค้าหรือผู้รับบริการ เลือกใช้บริการของโรงพยาบาลเอกชนไปจนหมด โรงพยาบาลของรัฐก็คงจะต้องปิดตัว และปิดฉากของตนเองให้จบลง เพราะฉะนั้นการดึงดูดลูกค้า ไว้ได้ก็ต้องอาศัยบริการที่ดีมีคุณภาพ และพยาบาลก็เป็นผู้ให้บริการส่วนใหญ่ ที่จะทําหน้าที่เป็นแม่เหล็กดึงดูดให้ลูกค้าประทับใจในบริการ ซึ่งคงหนี ไม่พ้นที่ความคิดวิจารณญาณจะก้าวเข้ามามีบทบาท อย่างเต็มตัว เพราะพยาบาลที่มีความคิดวิจารณญาณ มักจะสามารถตัดสินใจให้บริการได้อย่างเหมาะสม รวดเร็วทันเหตุการณ์ประทับใจผู้รับบริการ (Oremann, 1999) ส่วนโรงเรียนพยาบาลที่ผลิตบัณฑิตพยาบาล จะสามารถตีตลาด เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ รับบัณฑิต ของตนเข้าทํางานได้ ก็คงจะต้องไม่ลืมที่จะพัฒนา ความคิดวิจารณญาณให้แก่บัณฑิตของตน การมีความคิดวิจารณญาณนี้ ถือว่ามีความสําคัญเป็นอันดับแรก ในทักษะทั้งหมดของการเป็นพยาบาล (The American Association of Colleges of Nursing, 1999 ; Australian Nursing Council, 2001) ตัวอย่างงานวิจัย ที่สนับสนุนความสําคัญของความคิดวิจารณญาณ ได้แก่ การสํารวจความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพจํานวน มากกว่า 500 คน ในรัฐ Kentucky ประเทศสหรัฐอเมริกา สรุปได้ว่าพยาบาลที่มีความรู้ความสามารถในปี 2005 จะต้องมีความคิดวิจารณญาณเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ การมีทักษะในการให้การพยาบาลผู้ป่วยเรื้อรังอย่างมีประสิทธิภาพ (McGuire, Stanhope, & Weisenbeck, 1998)

Downloads

Published

2022-06-09