การศึกษาความรู้ เจตคติ ความคิคเห็นเกี่ยวกับระบบสนับสนุน พฤติกรรมเสริมแรงต่อการใช้กระบวนการพยาบาล และการใช้กระบวนการพยาบาลในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Knowledge Attitudes Reinforcing Factors and Organization's Supporting System through the Process and the Use of Nursing Process in Srinakarind Hospital

Authors

  • บุบผา ชอบใช้
  • อภิญญา วงศ์พิริยโยธา

Keywords:

โรงพยาบาลศรีนครินทร์, การพยาบาล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ เจตคติ พฤติกรรมเสริมแรง ระบบสนับสนุนขององค์การของ ผู้ตรวจการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลประจําการ ต่อการใช้กระบวนการพยาบาล รวมทั้งระดับการใช้กระบวนการพยาบาล ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจําการเพื่อนําผลการวิจัยที่ได้ เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา การใช้กระบวนการพยาบาลในงานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ให้สัมฤทธิ์ผลต่อไป  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ตรวจการพยาบาล จํานวน 9 คน หัวหน้าหอผู้ป่วย จํานวน 26 คน และพยาบาล จํานวน 180 คน โดยศึกษาในผู้ตรวจการพยาบาล และหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  ส่วนพยาบาลประจําการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างชั้นภูมิแบบ สัดส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจาก ดวงใจ รัตนธัญญา (2533) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการพยาบาล ของผู้ตรวจการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจําการอยู่ในระดับดี เจตคติเกี่ยวกับกระบวนการพยาบาลของผู้ตรวจการ และหัวหน้าหอผู้ป่วยอยู่ในระดับดี ส่วนพยาบาลประจําการอยู่ในระดับพอใช้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับ พฤติกรรมเสริมแรงต่อการใช้กระบวนการพยาบาล ของผู้ตรวจการพยาบาลอยู่ในระดับสูง ส่วนของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจําการอยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบสนับสนุนของ องค์การต่อการใช้กระบวนการพยาบาลของผู้ตรวจ การพยาบาลอยู่ในระดับมาก ส่วนของหัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลประจําการอยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นเกี่ยวกับ การใช้กระบวนการพยาบาลของ หัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจําการอยู่ในระดับมปานกลาง  ผลการวิจัยดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการใช้กระบวนการ พยาบาลยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมสนับสนุน ให้มีการใช้กระบวนการพยาบาลมากขึ้น โดยการหากลยุทธ์ที่ทำให้การใช้ กระบวนการพยาบาลเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ลดเวลาความยุ่งยากในการเขียน รวมทั้งหัวหน้าหอผู้ป่วยและผู้ตรวจการพยาบาล ควรเพิ่มความรู้และทักษะ ในการใช้กระบวนการพยาบาล เพื่อให้การช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้กระบวนการพยาบาลให้กับ พยาบาลได้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อไป   The purpose of this descriptive research was to assess knowledge, attitudes, reinforcing factors and organization's supporting system for supervising, head and staff nurses through the nursing process, and to assess the use of the nursing process by head and staff nurses at Srinakarind Hospital.  The sample populations were comprised of 9 supervised nurses, 26 head nurses and 180 staff nurses We randomly selected staff nurses using a stratified sampling method. A questionnaire edited by Ms. Duangiai Ratanatunya's (1990), was modified to the data gathering instrument, Means and standard deviations were calculated.  Supervising, head and staff nurses' knowledge of the nursing process was high, The attitudes toward the nursing process in supervising and head nurses was good, but only fair in staff nurses. Opinions of reinforcing factors of the nursing process in the supervising nurses were high but moderate in head and staff nurses Opinions of organization's promotion of the nursing process in supervising nurses were high but moderate in head and staff nurses. Opinions of the use of nursing process in all nurse groups were moderate.  The use of the nursing process in Srinakarind Hospital was not satisfaction. The use of nursing process should be further promoted in all levels of nurses. Strategies need to be developed to facilitate implementation and follow through of the nursing process. Supervising and head nurse should definitely have more knowledge and skill so that can help staff nurses apply the nursing process more effectively.

Downloads

Published

2022-09-09