การเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงและพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเร่งรัดการกำจัดโรคพิษสุนัข บ้า โรคอุจจาระร่วง และโรคเอดส์ โดยความร่วมมือของ 4 กระทรวงหลัก กรณีศึกษา : แกนนำนักเรียนของอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

Collaboration of 4 Principle Ministries in Surveillance of Risk Behaviors and Development of the Ability of Public to Accelerate Elimination of Rabies, Diarrhoeas and AIDS Case Study : Leader of Students at Taklee District in Nakhonsawan Province

Authors

  • นันทนา วงษ์สวรรค์

Keywords:

โรคกลัวน้ำ, นครสวรรค์, ท้องร่วง, โรคเอดส์, การเฝ้าระวังโรค

Abstract

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวก่อนและหลัง (One-group before-after Design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยง และพัฒนาศักยภาพชุมชน เพื่อเร่งรัดการจํากัดโรคพิษสุนัขบ้า โรคอุจจาระร่วง และโรคเอดส์ โดยความร่วมมือของ 4 กระทรวงหลัก จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแกนนํานักเรียน ของ 8 โรงเรียน ในอําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ จํานวน 65 คน โดยทําการศึกษาทั้งหมด (Census) ดําเนินการอบรมแบบมีส่วนร่วม จํานวน 2 วัน 2 คืน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง เกี่ยวกับความรู้ และการรับรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า โรคอุจจาระร่วง และโรคเอดส์ โดยหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัช (Coefficient Alpha Cronbach Method) ได้เท่ากับ 0.89 เก็บข้อมูลโดยให้ผู้เข้ารับการ อบรมตอบแบบสอบถาม ก่อนการอบรมแล้วดําเนิน การอบรมแบบมีส่วนร่วม จากนั้นให้ผู้เข้ารับการอบรม ตอบแบบสอบถามหลังการอบรมวิเคราะห์ข้อมูลด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป SPSS of windows สถิติที่ใช้ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าเฉลี่ยคะแนน ความรู้ การรับรู้ด้วย Paired t-test  ผลการศึกษาพบว่าความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า โรคอุจจาระร่วง และโรคเอดส์ ก่อนอบรมผู้เข้ารับการ อบรมส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 60.0 และหลังการอบรมส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับมาก ร้อยละ 84.6 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย คะแนนความรู้ทั้ง 3 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001)  สําหรับการรับรู้ทั้ง 3 โรค ก่อนการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ มีคะแนนการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.7 และหลังการอบรมส่วนใหญ่ มีคะแนนการรับรู้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 60.0 เมื่อ  เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ของด้านการรับรู้ ถึงโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ถึงความรุนแรง  ของโรคและการรับรู้ถึงประโยชน์ในการปฏิบัติ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรค ก่อนและหลังการอบรมของ ทั้ง 3 โรค พบว่าหลังการอบรมมีการรับรู้มากกว่าก่อน การอบรมและเมื่อทดสอบความแตกต่างของการรับรู้ ทั้ง 3 โรคพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทาง สถิติ (p < 0.001)  ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ควรมีการขยาย ผลการอบรมแบบมีส่วนร่วมไปสู่แกนนํานักเรียนของ อําเภออื่น ๆ และผู้นําองค์กรชุมชนอื่น ๆ ของหมู่บ้านในจังหวัดนครสวรรค์ ในการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่เสี่ยง  ต่อการเกิดโรคของประชาชนในชุมชน ในโรคอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาของพื้นที่ด้วย เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และควรมีการติดตามผลการอบรมเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อไป  This research is the Quasi-Experimental design having one group tested before and after with the objective of surveillance of risk behavior and promotion of community control of Rabies, Diarrhoeas and AIDS,co-ordinatedby 4 Ministries. 65 leader of students in 8 schools in Taklee district are sample used by census study with 2 days and 2 nights participation. Pre and Post training questionaires concerning the knowledge and perception of Rabies, Diarrhoeas and AIDS were collected. (by finding reliability of apparatus using Coefficient Alpha Conbach Method equal to 0.89), Data collecting by answer questionaires before training by Participatory Learning ; then post training answered. Using SPSS for windows the frequency, mean deviation and paired t-test were evaluated. Most of the pre-training trainee has a medium level knowledge about 60%, while post training increase to high leve knowledge up to 84.6%.  Determination of mean scores of perception of risks of incidences, virulence, prevention and control benefits were significantly increased from 67.7% of medium level to 60% of high-level (p < 0.001)  Based on these results, training with participatory learning should be carried on through other leader of students in various schools in Nakornsawan and other leaders in the villages. Surveillance and risk behaviors of other important diseases in any community would be taken in consideration too, for further study, effective prevention and control program.

Downloads

Published

2022-09-09