มหันตภัยจากการจับเด็กเขย่าอย่างรุนแรง

Shaken baby syndrome

Authors

  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์

Keywords:

เด็ก, การดูแล

Abstract

          “เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า” คํากล่าวนี้ยังคงเป็นจริงอยู่เสมอ ดังนั้นเด็กจึงเป็นกําลังสําคัญต่อการ พัฒนาประเทศชาติในอนาคต แต่เด็กจะเติบโตเป็นใหญ่ที่ดี พร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจนั้น เด็กต้องอาศัยการเลี้ยงดูจากผู้ใหญ่เป็นเวลานานหลายปี จึงจะสามารถช่วยเหลือตนเองและพึ่งพาตนเองได้ ฉะนั้นการเลี้ยงดูและการอบรมเด็กจึงเป็นปัจจัยที่ สําคัญยิ่งในการที่จะทําให้เด็กมีสุขภาพกายและใจดี เต็มที่ตามศักยภาพสูงสุด (maximum potential) ของเด็กแต่ละคน การที่จะเป็นเช่นนี้ได้ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กต้องสามารถเลี้ยงดูและอบรมเด็กได้อย่างเหมาะสม (นงพงา ลิ้มสุวรรณ, 2530 : 56) อย่างไรก็ตามมักมีผู้กล่าวอยู่เสมอว่า ไม่มีสิ่งใดประเสริฐไปกว่า การได้เป็นพ่อแม่คน แต่การเป็นพ่อแม่ใครสักคน ก็ไม่ใช่สิ่งง่ายเช่นเดียวกัน เพราะการเลี้ยงดูและอบรมเด็ก มักจะทําให้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู เกิดความเครียดได้ตลอดเวลา พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจึงไม่ต้องรู้สึกผิด (guilty) ที่มีอารมณ์โกรธหรือร้องตะโกนเสียงดังบ้าง ในขณะเลี้ยงดูเด็ก แต่สิ่งหนึ่งที่ท่านไม่ควรกระทําอย่างยิ่ง คือการจับเด็กเขย่าอย่างรุนแรง (shaking) เพราะอาจจะทําให้เด็กได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรงได้ เช่น อาเจียน (vomiting) ชัก (seizure) ง่วงซึม เลี้ยงไม่โต (failure to thrive) เลือดออก ในเรตินาหรือสมอง (retina or cerebral hemorrhage) ตาบอด (blindness) มีปัญหาในการเรียนรู้ (learning problems) หรือหมดสติ (coma) เป็นต้น การได้รับบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการจับเด็กเขย่า อย่างรุนแรงนี้ ทางกุมารเวชศาสตร์เรียกกว่า Shaken  baby syndrome (SBS) ถือว่าเป็นภาวะที่เด็กได้รับผลกระทบ ทางร่างกายและจิตใจ จากการถูกทําร้าย ร่างกายอย่างตั้งใจ (Child abuse) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ  1. Physical abuse  2. Sexual abuse  3. Neglected  4. Emotional abuse  SBS จัดอยู่ในกลุ่มของ Physical abuse (อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, 2541 : 73) มักพบโดย ทั่วไปในทารกแรกเกิดที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี แต่อาจพบได้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป (Rudolph, 1996 : 2125)สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทําให้เด็กถูกทําร้ายร่างกาย มักเกิดจากพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีความเครียด ได้รับความกดดันทางสังคม การเจ็บป่วยทางกายและจิตใจ หรือทัศนคติในการเลี้ยงดูเด็ก นอกจากนี้ยังพบว่า ลักษณะของเด็กเองจะเป็นตัวกระตุ้น เช่น เด็กที่ร้องไห้อย่างมาก ทำให้การเลี้ยงดูยากกว่าเด็กปกติทั่วไป จึงเป็นสาเหตุทำให้พ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเกิดอารมณ์โกรธแล้วระงับอารมณ์ไม่อยู่ จึงจับตัวเด็กเขย่าอย่างรุนแรงเพื่อให้เด็กหยุดร้อง ซึ่งอาจทำให้เด็กเกิด SBS ได้  สำหรับกลไกของการเกิดการได้รับบาดเจ็บ (mechanism of injury) ใน SBS นี้เป็นการยากที่จะอธิบายได้อย่างครอบคลุม เพราะเด็กมักจะไม่ได้ถูกกระทำเพียงครั้งเดียว แต่อาจกล่าวโดยสรุปว่า กลไกของการเกิด SBS เกิดขึ้นเนื่องจากทารกหรือ เด็กมีกล้ามเนื้อที่คออ่อนแรงกว่า เมื่อเทียบกับกล้ามเนื้อในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ทำให้ความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของคอและศรีษะไม่ดี เมื่อถูกจับตัวเขย่าอย่างรุนแรงจึงทำให้ศรีษะเคลื่อนไปข้างหลังอย่างง่าย ทำให้เส้นเลือดดำในสมอง (cerebral veins) ฉีกขาดได้  ดังนั้น ถ้าพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูพบ่าเด็กมีอาการร้องไห้อย่างมาก และไม่มีท่าว่าจะหยุดร้อง พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรจะหาสาเหตุของการร้องไห้นั้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากเด็กมีอาการดังต่อไปนี้  1.  หิวนม  2.  เหนื่อยล้า  3.  เปียกแฉะ เช่น ถ่ายปัสสาวะ 4.  ไม่สุขสบาย เช่น นอนเปื้อนปัสสาวะหรือ อุจจาระ  5.  ทุกข์ใจ ไม่เป็นสุข เช่น ถูกมดหรือแมลงกัด  6.  ว้าเหว่ ถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว         

Downloads

Published

2022-09-09