ผลของโปรแกรมส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ต่อความผูกพัน ระหว่างมารดาและทารกหลังคลอด ณ โรงพยาบาลระยอง

The effect of prenatal bonding program on maternal - newborn attachment in postpartum period at Rayong Hospital

Authors

  • รวีวรรณ ภูธนะกูล
  • วิไลพรรณ สวัสดิ์พาณิชย์

Keywords:

มารดาและทารก, ครรภ์, วิจัย, ความผูกพัน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความผูกพัน ระหว่างมารดาและทารกภายหลังคลอด ระหว่างกลุ่มมารดาที่ได้รับโปรแกรม ส่งเสริมความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ และกลุ่มมารดาที่ไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริม ความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542  กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงครรภ์แรกอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ ที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาล ระยอง จํานวน 60 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ ที่กําหนดไว้และแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยวิธีจับฉลาก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริม ความผูกพันในระยะตั้งครรภ์และ การดูแลในระยะตั้งครรภ์ตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับเฉพาะการดูแลในระยะตั้งครรภ์ตามปกติ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมส่งเสริม ความผูกพันในระยะตั้งครรภ์ และแบบประเมินความ  ผูกพันระหว่างมารดาและทารกในระยะหลังคลอดของ พรรณิภา ทองณรงค์ (2537) วิเคราะห์ข้อมูลโดย เปรียบเทียบคะแนนความผูกพันระหว่างมารดาและ ทารกหลังคลอด 2 วัน ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุมโดยใช้สถิติที (t-test)  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความ ผูกพันระหว่างมารดา และทารกหลังคลอดสูงกว่ากลุ่ม ควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001  This research is quasi-experimental. The purpose was to study the effect of a prenatal bonding program on maternal-newborn attachment during the postpartum period.  The sample was first-time pregnant women with 32 weeks gestation They had attended the antenatal clinic and gave birth in Rayong Hospital. Sixty of those were randomly assigned to either the experimental group or control group (30 women in each group). The experimental group participated in the Prenatal Bonding Program (Thongnarong, 1994) and received routine antenatal care while the control group received only routine antenatal care.  Maternal-newborn attachment was measured by the Maternal-Newborn Attachment Tool (Thongnarong, 1994). Data were analyzed by comparing maternal-newborn attachment scores 2 days after birth, using t-test.  The result revealed that the experimental group significantly had better scores on maternal-newborn attachment than the control group (p-value = .001)

Downloads

Published

2022-06-15