การศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในระยะหลังคลอด ของมารดาที่ติดเชื้อ เอชไอวี

A study of health promoting behaviors of mothers with HIV seropositive during postpartum period

Authors

  • ศิริวรรณ ยืนยง
  • เกศอุไร เผด็จศึก
  • พรเพ็ญ เมธาจิตติพันธ์

Keywords:

โรคเอดส์ในสตรีมีครรภ์, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, บริการส่งเสริมสุขภาพ, วิจัย, มารดา

Abstract

          ในปัจจุบันภาวะการติดเชื้อเอชไอวี ในหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด นับเป็นปัญหาที่สําคัญ ปัญหาหนึ่งทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากมีจํานวนหญิงตั้งครรภ์ ที่ติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นทุกปี การติดเชื้อเอชไอวีจะทําให้มารดาได้รับผลกระทบทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมเป็นอย่างมาก และอาจส่งผลถึงการมี พฤติกรรมสุขภาพอนามัยที่ไม่เหมาะสมได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ในระยะหลังคลอดของมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี จํานวน 132 คน ที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกตรวจ สุขภาพหลังคลอดในโรงพยาบาล 6 แห่งของภาคตะวันออก ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรม การส่งเสริมสุขภาพในระยะหลังคลอด การศึกษานี้ใช้แนวคิดของ เพนเดอร์เป็นแนวทางในการศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการ ส่งเสริมสุขภาพในระยะหลังคลอดของมารดาที่มีปัจจัย ส่วนบุคคลแตกต่างกัน โดยใช้การทดสอบการแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า  1. มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในระยะ หลังคลอดอยู่ในระดับดี  2. มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอายุ 21-29 ปี มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ในระยะหลังคลอดดีกว่ามารดาที่มีอายุ 14-20 ปี มารดาที่มีระดับการศึกษา ตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไปมีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในระยะหลังคลอดดีกว่ามารดาที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาลงมา มารดาที่มีรายได้ของครอบครัวมากกว่า 8,000 บาทต่อเดือน มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในระยะหลังคลอดดีกว่า มารดาที่มีรายได้ของครอบครัวต่ำกว่า 4,000 บาทต่อเดือน และมารดาที่ทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่ 6 เดือน มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในระยะหลังคลอด ดีกว่ามารดาที่ทราบผลการติดเชื้อเอชไอวีน้อยกว่า 6 เดือน แต่อย่างไรก็ตามมารดา ที่มีสถานภาพการสมรสแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพใน ระยะหลังคลอดไม่แตกต่างกัน  จากผลการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรตระหนักถึงความสำคัญ ของการส่งเสริมสุขภาพของมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มมารดาที่อายุน้อย จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้ต่ำ และทราบผลการติดเชื้อเอชไอวี ไม่เกิน 6 เดือน โดยวิธีการต่างๆ อาทิเช่น การให้คำแนะนำปรึกษาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และเป็นสื่อกลางในการจัดตั้งกลุ่ม ช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้แก่มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างเป็นปกติสุข  HIV infection in women during the pregnancy and postpartum period is one of the most important problems in health care arena. This results from the fact that the number of HIV seropositive pregnant women has drastically increased each year. Mothers with HIV seropositive are suffering from the complications physically, psychologically, and socially. This may consequently create inappropriate health behavior patterns. Thus, this study was aimed to examine health promoting behaviors of mothers with HIV seropositive during the postpartum period. The sample consisted of 132 postpartum mothers with HIV seropositive who attended the postpartum clinics at 6 hospitals in the eastern region of Thailand. Questionnaires were used to collect demographic data and health promoting behaviors of the mothers during the postpartum period. Pender's health promoting model was used to guide the study. Data were analysed by using ANOVA and t-test. The results revealed that :  1. Mothers with HIV seropositive had appropriate health promoting behaviors.  2. Mothers with HIV seropositive who were 21-29 years old, had a high-school diploma or higher education, earned more than 8,000 Baht per month, and had found out that they got HIV seropositive for more than six months, statistically had better health promoting behaviors than those who were 14-20 years old, had an elementary-school certificate or lower education, earned less than 4,000 Baht per month, and had found out that they got HIV seropositive for less than six months. However, mothers with different marital status did not have different health promoting behaviors.  Nursing implications for the research results are that nurses need to support postpartum mothers so that they will continue their health promoting behaviors, especially among those who are younger than 21 years old, are less educated, and have found out very recently (less than 6 months) that they got HIV seropositive. Nursing interventions such as continuous counsellings and establishments of specific self-help groups may be helpful for mothers with HIV seropositive so that they can live with optimal health and the highest quality of life.

Downloads

Published

2022-06-15