ประสบการณ์ชีวิตสตรีไทยที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม

LIVED EXPERIENCE OF THAI WOMEN WITH BREAST CANCER

Authors

  • ทัศนา บุญทอง
  • จิรวัฒน์กุล จิรวัฒน์กุล
  • ศิริอร สินธุ
  • ธนา นิลชัยโกวิท
  • กนกนุช ชื่นเลิศสกุล

Keywords:

เต้านม, มะเร็ง, ผู้ป่วย, ทฤษฎีพื้นฐานเชิงอุปมาน, การวิจัยเชิงคุณภาพ, Breast cancer, มะเร็งเต้านม

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบาย ประสบการณ์ชีวิตสตรีไทย ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมตาม การรับรู้ของสตรีที่มีประสบการณ์ตรง โดยประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทฤษฎีพื้นฐานเชิงอุปมาน นับจํานวนผู้ให้ข้อมูลได้รวมทั้งสิ้น 22 คน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นกระบวนการ อยู่ร่วมกับมะเร็งเต้านมของ สตรีไทย ที่มีการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นจากการรับรู้ ความผิดปกติของเต้านมอย่างบังเอิญ และต่อเนื่องไปจน กระทั่งถึงช่วงใกล้ความตาย จําแนกได้ 3 ระยะ คือ ระยะก่อนจะพบโรค ระยะเมื่อพบโรค และระยะอยู่กับความ เจ็บป่วย ในระยะก่อนจะพบโรคสตรีให้ความหมายของ ก้อนความผิดปกติ 3 ความหมาย ได้แก่ เป็นเพียง ความผิดปกติ เป็นเนื้องอก และเป็นมะเร็ง ส่วนการตอบสนองต่อการรับรู้ความผิดปกติในขั้นต้นจําแนกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การปล่อยปละละเลย กับการแสวงหาคําตอบ ซึ่งเมื่อพบโรคมะเร็งเต้านมแล้ว สตรีมีความคิดความรู้สึก 2 แบบ ได้แก่ ความคิดความรู้สึกเฉย..เฉย กับความคิดความรู้สึกทางลบ โดยมีการตอบสนองต่อ ความคิดความรู้สึกทางลบ 2 วิธี ได้แก่ การปลดปล่อย ความกดดันและแสวงหาทางแก้ไข กับการปรับเปลี่ยน  ความคิด ส่วนในระยะอยู่กับความเจ็บป่วย พบว่าชีวิตประจําวันของสตรีเปลี่ยนแปลงไป ตามผลกระทบของ การรักษาแต่ละวิธี ซึ่งอาจเป็นการผ่าตัด รังสีรักษา และเคมีบําบัด ตลอดจนการดําเนินของโรคภายหลังการ รักษา ซึ่งครอบคลุมทั้งภาวะปลอดอาการ กับการกลับเป็นซ้ำ แสดงให้เห็นว่าประสบการณ์ชีวิตสตรีไทยที่ ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม มีความหลากหลายขึ้นกับการรับรู้ของสตรี และการจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผลการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเสนอแนะให้บุคลากรในวิชาชีพ การพยาบาล ให้ความรู้กับสตรีไทยเพื่อสร้างความ  ตระหนักในการตรวจหาความผิดปกติของเต้านมด้วย ตนเองให้มากขึ้น ครอบคลุมการป้องกันและวิธีการ ปฏิบัติตนต่าง ๆ ในผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว ตลอดจนการประชาสัมพันธ์แหล่งบริการที่จะให้การวินิจฉัย การรักษา ขยายและพัฒนาระบบการตรวจวินิจฉัย การแจ้งผลการวินิจฉัย ให้การบําบัดความคิดและการรับรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการ กับความคิดทางลบที่เกิดขึ้น จัดหามาตรการป้องกันมิให้มีการหนีหาย  ออกจากระบบการบริการในระหว่างที่การรักษายังไม่สิ้นสุด ปรับปรุงวิธีการติดตามการดําเนินของโรคเพื่อให้การเฝ้าระวังและการวินิจฉัยการกลับเป็นซ้ำได้ตั้งแต่แรกเริ่ม          The purpose of this research was to explain the process of living of breast cancer by applying qualitative research (Grounded theory). There were 22 informants in this study. The finding of this study was the Changing. Process of Living with Breast Cancer starting at the accidental perceptions of the breast abnormality and continuing until near death. The process was divided into three periods, before the disease was found, when the disease was found, and living with the illness. Before the disease was found, meaning of breast abnormality were abnormality, benign tumor and cancer. The women 's responses to the primary perception of the abnormality were let it be and seek out the answer. When the disease was found, their thinking-feeling responses were no reaction and negative reaction. Living with illness, their daily living were changed due to the treatments; surgery, radiation and chemotherapy effects; and the progression of the disease after treatment were no symptoms and recurrent of symptoms. The finding showed that the variety of lived experience of Thai women with breast cancer depended on women's perceptions and their situational managements. The suggestion from this research findings to nursing personnel is to provide knowledge to Thai women to increase their awareness about breast self examination and to therapeutic their negative thinking-feeling as well as to improve abilities about illness situational managements of patients who had breast cancer. In addition, to give  information about diagnostic services and treatment settings, to improve the diagnostic  system for early detection, to improve ways of telling diagnostic results, to prevent patients who were not cure losing from medical treatment and follow up and to improve disease progression monitoring strategies to early diagnosis in recurrent cases are also be provided.

Downloads

Published

2022-06-15