หลักสูตรบูรณาการ

Integrated curriculum

Authors

  • กนกนุช ชื่นเลิศสกุล

Keywords:

หลักสูตร, การวางแผนหลักสูตร

Abstract

          คําว่า “บูรณาการ” เป็นคําที่ใช้กันหลากหลาย ความหมายและหลากหลายระดับ อาจทําให้เกิดความ  สับสน และความเข้าใจที่ต่างกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างหลักสูตร ให้มีความเป็นบูรณาการ บทความนี้จึงได้นําเสนอเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาหลักสูตรบูรณาการ เพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนําไปสู่ความกระจ่างเกี่ยวกับการ พัฒนาหลักสูตรในลักษณะนี้ โดยนําเสนอในรูปแบบ ประเด็นคําถามและตอบคําตอบ ดังนี้ ธรรมชาติของ “การบูรณาการ” ในการพัฒนาหลักสูตรมีลักษณะอย่างไร?  โดยธรรมชาติ การบูรณาการ เป็นคุณลักษณะที่เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียนเท่านั้น (integration takes place inside learner : integration only occurs within the learner) (Sowell, 1996, p. 54) ผู้เรียนจะเป็นผู้บูรณาการสิ่งที่ได้เรียนรู้ โดยผ่านประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าผู้จัดหลักสูตรจะกําหนดเป้าหมายของหลักสูตร ให้มีการบูรณาการหรือไม่ก็ตาม (Taba อ้างถึง Ornatein & Hunkins, 1988, p.238) แต่ถ้าผู้จัดหลักสูตรพยายามจัดเนื้อหาหลักสูตรให้เกี่ยวข้องกัน เชื่อมโยงการจัดประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีทาง ที่เอื้อต่อการบูรณาการ ก็จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้อย่างเป็นบูรณาการง่ายขึ้นได้ (Saylor, Alexand & Lewis อ้างถึงใน Ornstein & Hunkins, 1988, p.238)

Downloads

Published

2022-06-15