ผลของโปรแกรมการเตรียมคลอดต่อความรู้เกี่ยวกับการคลอด พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดและความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลอด ของมารดาครรภ์แรก

The Effect of Childbirth Preparation Program on Labour Knowledge, Pain-Coping Behavior and Labour Service Satisfaction of Primiparas.

Authors

  • รัชนันต์ ถิรรดา

Keywords:

การคลอด, สตรีมีครรภ์, สุขภาพและอนามัย, ความเจ็บปวด, ความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลอด, โปรแกรมการเตรียมคลอด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม เตรียมคลอดต่อความรู้เกี่ยวกับการคลอด พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดและ ความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลอดในมารดาครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรกที่มารับ บริการฝากครรภ์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา จํานวน 30 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 15 ราย ได้รับการดูแลตามปกติจากหน่วยฝากครรภ์ และกลุ่มทดลอง 15 ราย ได้รับการเตรียมคลอดตามโปรแกรม 2 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนการเตรียมตัวเพื่อการคลอด แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการคลอด แบบประเมินพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการ ใช้บริการคลอด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือการแจกแจงความถี่ ร้อยละ การทดสอบค่าที่  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1. มารดาครรภ์แรกกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการคลอดหลังได้รับ โปรแกรมการเตรียมคลอดเพิ่มขึ้นสูงกว่ามารดาครรภ์แรกกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05  2. มารดาครรภ์แรกกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะ คลอดหลังได้รับโปรแกรมการเตรียมคลอดต่ำ กว่ามารดาครรภ์แรกกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ .05   3. มารดาครรภ์แรกกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย ความพึงพอใจต่อการใช้บริการคลอดโดยรวม หลังที่ได้รับโปรแกรมการเตรียมคลอดสูงกว่ามารดาครรภ์แรก กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  The purpose of this quasi-experimental study was to examine the effect of childbirth preparation program on labour knowledge, pain-coping behavior and labour service satisfaction of Primiparas. The samples were 30. normal primiparas. They were recruited from the antenatal clinic of the Health Science Center, Burapha University and were purposively selected. The control group, consisted of 15 subjects, received routine care while the experimental group, consisted of 15 subject, received 2 childbirth preparation classes. The instruments used in this study were childbirth preparation plan, labour knowledge questionnaires, the pain-coping behavior scale and the labour service satisfaction questionnaires, Data were analyzed by using frequency, percentage and t-test.  The results revealed that:  1. The primiparas in experimental group had significantly higher mean score of labour knowledge after the experiment than those of primiparas in the control group (p < .05).  2. The primiparas in experimental group had significantly lower mean score of the pain-coping behavior after the experiment than those of primiparas in the control group (p < .05).   3. The primiparas in experimental group had significantly higher mean score of the labour service satisfaction after the experiment than those of primiparas in the control group (p<.05).

Downloads

Published

2022-03-15