ผลการให้ความรู้แก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรกโดยใช้กระบวนการกลุ่มต่อความรู้ และการตอบสนองสื่อสัญญาณทารก

The Effect of Providing Knowledge to Primipara Aldolescent Mothers by Using Group Process on Maternal Knowledge and Response to Infant Cues.

Authors

  • ทัศนา หลีค้วน
  • จินตนา วัชรสินธุ์
  • มณีรัตน์ ภาคธูป
  • วรรณี เดียวอิศเรศ

Keywords:

มารดาและทารก, มารดาและบุตร, สื่อสัญญาณทารก, มารดาวัยรุ่นหลังคลอด

Abstract

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อสัญญาณทารกและการตอบสนองสื่อสัญญาณทารก ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก โดยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ให้ความรู้ด้วยกระบวนการกลุ่มกับกลุ่มที่ให้ความรู้ ในรูปแบบเดิมของโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีหลังคลอดบุตรคนแรก ที่พักฟื้นหลังคลอดในหอผู้ป่วยสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จํานวน 40 คน โดยสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมจํานวน 20 คน ซึ่งได้รับความรู้ในรูปแบบเดิมของโรงพยาบาล และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองจํานวน 20 คน ซึ่งได้รับความรู้เกี่ยวกับสื่อสัญญาณทารก และการตอบสนองสื่อสัญญาณทารกด้วยกระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องสื่อสัญญาณทารกและการตอบสนองสื่อสัญญาณทารก ทั้งก่อนและหลังการทดลอง ข้อมูลที่ได้นํามาวิเคราะห์เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  1. มารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก กลุ่มที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับสื่อสัญญาณทารก และการตอบสนองสื่อสัญญาณทารกด้วยกระบวนการกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับสื่อสัญญาณทารก สูงกว่ากลุ่มมารดาที่มีการให้ความรู้ในรูปแบบเดิม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. มารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก กลุ่มที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับสื่อสัญญาณทารก และการตอบสนองสื่อสัญญาณทารกด้วยกระบวนการกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยคะแนนการตอบสนองสื่อสัญญาณทารก สูงกว่ากลุ่มมารดาที่มีการให้ความรู้ในรูปแบบเดิม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การให้ความรู้ด้วยกระบวนการถลุ่ม สามารถเพิ่มความรู้ เกี่ยวกับสื่อสัญญาณทารก และการตอบสนองสื่อสัญญาณทารกได้ และจะเป็นแนวทางในการ ส่งเสริมให้มารดามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อสัญญาณทารก และสามารถตอบสนองสื่อสัญญาณทารกได้ถูกต้อง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก ซึ่งจะ มีผลต่อการพัฒนาการของทารกในด้านต่าง ๆ  The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of providing knowledge by group process on maternal knowledge and response to infant cues of primipara aldolescent mothers. The sample consisted of 40 primipara aldolescent mothers at ages of 15-19 at the postpartum-gynecological ward in Banpong Hospital, Ratchaburi province. The samples were randomly assigned to either the control or experimental group. The 20 samples of the control group received regular intervention of postpartum care service and the other 20 samples of the experimental group received knowledge about infant cues and response by means of group process. The samples in both groups were assessed knowledge and response to infant cues at intake and two weeks after intervention program by using questionnaires. Data were analyzed in term of percentage, mean, standard deviation, and t-test.  The results of the study revealed that:  1. The primipara aldolescent mothers in the experimental group had significantly higher mean scores of knowledge about infant cues after the experiment than those of the control group (p<.05).  2. The primipara aldolescent mothers in the experimental group had significantly higher mean scores of response to infant cues after the experiment than those of the control group (p<.05).  The finding from this study suggested that primipara aldolescent mothers participating in the group process could enhance the knowledge and response to infant cues. This study also provided ways to enhance mothers’ knowledge and response to infant cues which in turn effective interaction between adolescent mothers and their infants there by promoting growth and development of this very young group of population.

Downloads

Published

2022-03-15