คุณภาพการพยาบาลที่ผู้รับบริการพึงพอใจในยุคปัจจุบัน

Authors

  • มณฑา อร่ามเลิศมงคล

Keywords:

การพยาบาล, พยาบาล, พยาบาลกับผู้ป่วย

Abstract

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในระบบบริการสุขภาพเกิดขึ้นมากมาย ทั้งด้านแนวคิดและรูปแบบ ของบริการ รวมทั้งการขยายตัวด้านปริมาณ และโครงสร้างของสถานพยาบาล นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ยังมีส่วนในการผลักดันให้ระบบการตรวจสอบคุณภาพมีความสําคัญมากขึ้นและเกิดการแข่งขัน ในด้านคุณภาพบริการ เพื่อให้การพัฒนาคุณภาพ การพยาบาลทันต่อการเปลี่ยนแปลงมีนวัตกรรมเทคโนโลยี และนโยบายการสาธารณสุขของประเทศ (กองการพยาบาล, 2544) เพื่อใช้เป็นแนวทางสําหรับ โรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ ในการดำเนินการ พัฒนาคุณภาพการพยาบาล ดังนั้น การให้บริการ ของโรงพยาบาล จึงจำเป็นต้องเน้น “คุณภาพ” เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจ และความเชื่อถือจากผู้มารับบริการ (ดำรงพันธ์ วัฒนโชติ, 2545) บริการพยาบาลในประเทศไทย เน้นคุณภาพเชิงวิชาชีพกันมาก โดยกองการพยาลสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้สนับสนุนให้ฝ่ายการพยาบาลของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั่วประเทศพัฒนามาตรฐานเชิงวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ ในการประเมินคุณภาพ การพยาบาล แต่จากการวิจัยของพวงรัตน์ พรหมจันทร์ (2545), สุภัทรา ทรัพย์นภาพร (2545), วัชรี อินทโชติ (2545), ประเทือง เจียมตน (2546), จารุวรรณ สิริวัฒนสกุล (2546) และ ปัญจพร หริ่งรอด (2546) พบว่ามาตรฐานเชิงวิชาชีพเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจต่อบริการพยาบาลได้ แต่ยังมีมาตรฐานเชิงปฏิสัมพันธ์ และอุปสรรคหรือช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ ทําให้ผู้ให้บริการรับรู้ความคาดหวังของผู้รับบริการ ไม่ตรงกับที่ผู้รับบริการคาดหวัง แต่หากผู้ให้บริการให้บริการได้ตรงตามที่ผู้รับบริการคาดหวังไว้ คุณภาพการพยาบาลก็จะเกิดขึ้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่าผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ สรุป บทความนี้จะกล่าวถึง ความหมายของคุณภาพการพยาบาล การประเมินคุณภาพการพยาบาลเกณฑ์การกำหนดคุณภาพการพยาบาล และช่องว่างหรืออุปสรรคคุณภาพการพยาบาล ตลอดจนข้อเสนอแนะในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล เพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจในยุคปัจจุบัน

Downloads

Published

2022-03-08