การประเมินการรับสัมผัสปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วยโรคซิลิโคสิสในอุตสาหกรรมสกัดหิน

Silicosis Patients Exposure Risk Assessment in Stone-crushing Industry

Authors

  • ปวีณา มีประดิษฐ์

Keywords:

โรคปอดฝุ่นหิน, ปัจจัยเสี่ยง

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย ในลักษณะศึกษา ณ จุดเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน  การรับสัมผัสปัจจัยเสี่ยงจากทั้งในระหว่างและนอกเวลาการปฏิบัติงาน โดยกลุ่มประชากรที่ศึกษาเป็นผู้ที่ได้รับวินิจฉัยจากกระทรวงสาธารณสุข สงสัยเป็นโรคซิลิโคสิส และปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมสกัดหิน จํานวน 76 คน กระจายอยู่ในภาคต่าง ๆ 7 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 82.9 และปฏิบัติงานอยู่ในส่วนงานผลิตขับรถส่งผลิตภัณฑ์ และซ่อมบำรุง และอีกร้อยละ 17.1 เป็นเพศหญิงที่ปฏิบัติงานในส่วนสำนักงานและแม่บ้าน อายุเฉลี่ย 44.06 (8.4) การรับสัมผัสปัจจัยเสี่ยงจากปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยด้านการสัมผัสปริมาณฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน พบมากที่สุดได้แก่ นครศรีธรรมราช 17.992.46 มก./ลบ.ม. ในขณะที่เปอร์เซนต์ซิลิก้าสูงสุดถึงนราธิวาส 12.5610.6 เปอร์เซนต์ โดยผู้ปฏิบัติงานร้อยละ 34.2 ไม่เคยสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจเลย และมีการสวมใส่บางครั้งร้อยละ 15.8 และในปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ได้เกิดจากการปฏิบัติงานได้แก่ ปัจจัยด้านสถานที่พักอาศัยพบว่า ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่อาศัยอยู่ ในบ้านพักที่สถานประกอบการจัดให้ ร้อยละ 79 ในขณะที่ร้อยละ 21 เดินทางมาทำงานเอง และรวมทั้งปัจจัยเสี่ยงในระหว่างด้านการดำรงชีวิตที่ทำให้สุขภาพปอด ของผู้ปฏิบัติงานมีสภาพที่ไม่แข็งแรง ทำให้มีโอกาสเกิดโรคได้ง่ายขึ้น ได้แก่การใช้เตาถ่านในการประกอบอาหาร ร้อยละ 42.1 และอีกร้อยละ 59.2 มี การใช้ยาฆ่าแมลงโดยไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน ระบบหายใจในขณะฉีดพ่น รวมทั้งในด้านของการสูบบุหรี่ พบส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.4 ปัจจุบันยังสูบบุหรี่ จากผลการศึกษาพบว่าผู้ปฏิบัติงาน ในงานอุตสาหกรรมสกัดหินมีโอกาสรับสัมผัสปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคซิลิโคสิสได้จากทั้งในระหว่างและนอกเหนือการปฏิบัติงาน ดังนั้น แนวทางการจัดการเพื่อป้องกัน ควบคุม และกําจัดโรคซิลิโคสิส จึงควรมีการตระหนักถึงความเสี่ยงเหล่านี้ให้ครอบคลุม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเฝ้าระวังโรคต่อไป  This descriptive research is the cross-sectional study. The purpose of this study was lo investigate the risk factors exposure both on and off the job. Data was collected among 76 stone-crushing industrial workers in 7 provinces of Thailand who were reviewed a selection of epidemiological report to identity area and suspected silicosis cases including male 82.9% and female 17.1%. The job title has productivity, truck driver, maintenances and administration officer. The risk factors exposed on the job as the highest respirable dust concentration was 17.992.46 mg / m3 at Nakronsrithammarat and the content of SiO2 was 12.5610.6% at Narathiwat. The application of personal protective equipment indicated 34.9% for the workers never used personal protective equipment in working time. Importantly, during off the job everybody lacked of protective equipment usage. For the environmental exposure that may serve as a confounding factor us living house. the finding showed 79% live nearby the plant was arranged by the employers. In addition the work still exposed the pulmonary functional effecting factors like wood stove usage 42.1%, herbicide usage without protection 59.2% and tobacco usage 47.4%. The results suggested that there is a need for developing a national database for silicosis among stone-crushing industrial workers, executing a medical surveillance and a national occupational medical service program

Downloads

Published

2022-03-08