ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี

Factors Affecting Exercise Behavior of Upper Secondary Level School Students In Schools Under The Office Of Prachinburi Educational Service Area

Authors

  • วิโรจน์ เจริญยิ่ง
  • วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม
  • สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ

Keywords:

การออกกำลังกาย, นักเรียนมัธยมศึกษา, ปราจีนบุรี, สุขภาพและอนามัย, พฤติกรรมการออกกําลังกาย, การรับรู้อุปสรรค, การรับรู้ความสามารถตนเอง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคกล ประสบการณ์เดิม การออกกําลังกาย การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม กับพฤติกรรมการออกกําลังกายของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี จํานวน 394 คน ที่สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคล ประสบการณ์เดิมการออกกําลังกาย การรับรู้ ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถ ตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการออกกําลังกาย ซึ่งพฤติกรรมการออกกําลังกาย มีการกระจายไม่เป็นโค้งปกติ จึงใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ สเปียร์แมน และการทดสอบความแตกต่างแมนน์ วิทนีย์ ยู  ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความสามารถ ตนเอง อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม  มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย (Spearman rho’s = .139, .205, .146 และ .143, p < .05, p < .001) และการรับรู้อุปสรรค มีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการออกกําลังกาย (Spearman rho's = -.123, p < .05)  2. เพศที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการออกกําลังกาย ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (Mann - Whitney U = 12384.00) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศชายจะมีพฤติกรรมการออกกําลังกายมากกว่าเพศหญิง และประสบการณ์เดิม การออกกําลังกายที่แตกต่างกันมีผลทําให้พฤติกรรม การออกกําลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ที่มีประสบการณ์เดิมการออกกําลังกายจะมีพฤติกรรมการออกกําลังกายมากกว่า ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์เดิมการออกกาลังกาย  The objective of this study was to describe the relationships between personal  factors, perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, interpersonal influences, situational influences, and exercise behavior. Multistage random sampling technique was used to select 394 upper secondary level school students under the Office of Prachin Buri Educational Service Area. The instrument included (1) Personal factors. (2) Perceived Benefit Scale, (3) Perceived Barrier Scale, (4) Perceived Self-efficacy Scale (5) Interpersonal Influences Scale, (6) Situational Influences Scale and (7) Exercise Behavior Questionnaire. Since the distribution of exercise behavior was not normal distributed, Spearman's rank correlation and Manu Whitney U test were used to analyze the data. The major findings were as follows : 1. Perceived benefits. perceived self-efficacy, interpersonal influences, situational influences were positively related to exercise behavior with the Spearman's rank correlation  coefficients of .139, .205, .146 and .143 respectively (p <.05, p <.001). Perceived barriers were negatively related to exercise behavior with the Spearman’s rank correlation coefficients of - .123 (p <.05). 2. Gender significantly affected exercise behavior (p <.05). Male have more exercise behavior than female. Previous experience significantly affected exercise behavior (p < .05). Previous experience have more exercise behavior than not previous experience.

Downloads

Published

2022-03-08