ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลำบากเรื้อรังด้วยตนเองต่อผลลัพธ์การจัดการด้วยตนเองในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
The Effectiveness of Promoting Competency in Chronic Dyspnea Self-management Program on Self-management Outcomes in Person with Chronic Obstructive Pulmonary Disease.
Keywords:
การหายใจลำบาก, ทางเดินหายใจ, การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง, ภาวะหายใจลําบากเรื้อรัง, ปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การจัดการด้วยตนเองAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษา ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถ ในการจัดการภาวะหายใจลําบากเรื้อรังด้วยตนเอง ต่อผลลัพธ์การจัดการด้วยตนเองในผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับการรักษา ที่งานผู้ป่วยนอกแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี จํานวน 42 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 21 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความสามารถ ในการจัดการภาวะหายใจลําบากเรื้อรังด้วยตนเอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ทําการวัดผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสามารกในการจัดการ ภาวะหายใจลําบากเรื้อรังด้วยตนเอง ด้วยแบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลําบาก เรื้อรังด้วยตนเองของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และแบบประเมินสภาวะอาการหายใจลําบาก สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรมการ ส่งเสริมความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลําบาก เรื้อรังด้วยตนเอง ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจัดการภาวะหายใจ ลําบากเรื้อรังด้วยตนเองดีขึ้นและมีคะแนนเฉลี่ย สภาวะอาการหายใจลําบากลดลงกว่าก่อนได้รับ โปรแกรมการส่งเสริมความสามารถในการจัดการภาวะ หายใจลําบากเรื้อรังด้วยตนเองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริม ความสามารถในการจัดการภาวะหายใจลําบากเรื้อรัง ด้วยตนเองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจัดการ ภาวะหายใจลําบากเรื้อรังด้วยตนเองดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และมีคะแนนเฉลี่ยสภาวะอาการหายใจลําบากลดลงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 This quasi-experimental research, two-groups pre-post test design, was conducted to determine the effect of promoting competency in chronic dyspnea self-management program on the self-management outcomes in person with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Forty-two patients with COPD attending the Out-Patient Clinic at Chon Buri Regional Hospital were randomized to the promoting competency in chronic dyspnea self-management program (intervention group, n=21) or to the usual care group (control group, n=21). Competency in chronic dyspnea self-management scale and Dyspnea Visual Analogue Scale (DVAS) were used in data. collection to evaluate the self-management outcomes. The data was analyzed using percentage, mean Standard deviation and t-test. The results of this study showed that the chronic dyspnea self-management mean scores of the patients was significantly increase after attending the program and the dyspnea status mean score was significantly decrease (p<.05). The intervention group had significantly higher chronic dyspnea self-management mean scores and had significantly lower dyspnea status mean scores than the control group (p<.05).Downloads
Published
2022-03-08
Issue
Section
Articles