ผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเองต่อความรู้สึกมีภาระและความผาสุกในชีวิตของผู้ดูแลผู้ สูงอายุภาวะสมองเสื่อม
Effects of Self-help Group on Perceived Burden and Well-being of Caregivers of The Elderly wtih Dementia
Keywords:
ผู้สูงอายุ, ภาวะสมองเสื่อม, โรคอัลไซเมอร์, ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ความผาสุกในชีวิต, ความรู้สึกมีภาระAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว เพื่อศึกษาผลของกลุ่มช่วยเหลือตนเอง ต่อ ความรู้สึกมีภาระและความผาสุกในชีวิต ของผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีกาวะสมองเสื่อม และมีคุณสมบัติตามที่กําหนด จํานวน 10 ราย กลุ่มทดลอง ได้รับการเข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง โดยมีระยะเวลาในการเข้ากลุ่มทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ผู้วิจัยทําการเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นไปแล้ว 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกมีภาระ และแบบประเมินความผาสุกในชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียววัดซ้ำ และการเปรียบเทียบ เชิงพหุคูณด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผู้ดูแลผู้สูงอายุภาวะสบองเสื่อมที่ได้รับ การเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีภาระระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และหลังการทดสองเสร็จสิ้น 4 สัปดาห์ต่ำกว่าระยะก่อน การทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้น 4 สัปดาห์ มีคะแนนเฉลี่ยความรู้สึกมีภาระต่ำกว่าระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุกาวะสมองเสื่อมที่ได้รับ การเข้ากลุ่มช่วยเหลือตนเองมีคะแนนเฉลี่ยความ ผาสุกในชีวิต ระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้น 4 สัปดาห์ สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้น 4 สัปดาห์ มีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกในชีวิตสูงกว่าระยะหลัง การทดลองเสร็จสิ้นทันที อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 The purpose of this quasi-experimental study was to evaluate the effects of self-help group on perceived burden and well-being among caregivers of the elderly with clinical dementia. Ten caregivers of elderly with clinical dementia participated in the sell-help group. The self-help group was conducted once a week for six consecutive weeks. The data was collected by means of interview in order to obtain information regarding the burden and well being of these caregivers. Such data were obtained before and immediately after the experiment as well us at four weeks after the experiment. Descriptive statistics and one way analysis of variance with repeated measures and LSD method were performed. The major results revealed that: 1. The caregivers participated in the self-help group perceived less burden in taking care of the elderly immediately after the experiment (average= 16.2 and four weeks after the experiment (average = 6.3) in comparison to the period prior to the experiment (average =36.5) (p<.01). The level of burden among the caregivers after four weeks participated in self-help group was significantly lower than immediately after the experiment (p < .01). 2. Participating in self-help group showed increase level of well-being immediately after the experiment (average =82) and four weeks after the experiment (average =86.4) in comparison to the period prior to the experiment (average =60.4) (p < .01). The level of well-being among the caregiver after-four - weeks in self-help group was significantly higher than immediately after the experiment (p < .01).Downloads
Published
2022-03-08
Issue
Section
Articles