ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวายของผู้ป่วยภาวะหัวใจ วาย

Factors related to perceived severity of heart failure in patients with heart failure

Authors

  • จิราภรณ์ มีชูส จิราภรณ์ มีชูสิน
  • อาภรณ์ ดีนาน
  • ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์

Keywords:

หัวใจวาย, ผู้ป่วย, หัวใจ, โรค, ผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย, การรับรู้ความรุนแรง , ภาวะหัวใจวาย

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  หาความสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวายของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยภาวะหัวใจวายจํานวน 197 ราย ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและคลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กําหนด เก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการรับประทานยา แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการออกกําลังกาย แบบสัมภาษณ์การรับรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจวาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน  ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.9 อายุส่วนใหญ่  อยู่ระหว่าง 60-79 ปี ร้อยละ 53.3 (M = (65, SD = 13.22) ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 62.9 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 74.6 โรค ที่เป็นสาเหตุของของภาวะหัวใจวาย ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 48.22 ผู้ป่วยภาวะหัวใจวายมีการรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวาย อยู่ในระดับสูง (M = 132.42, SD = 26.28)  ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวายของผู้ป่วยภาวะหัวใจวาย ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหัวใจวาย พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับการรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวายของผู้ป่วย ภาวะหัวใจวาย (r8 = -.25, p < .01) ส่วนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเฉพาะโรค พฤติกรรมการประทานยา พฤติกรรมการออกกําลังกาย และ การรับรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจวาย ไม่พบว่า  มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติกับการรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวายของผู้ป่วยภาวะ หัวใจวาย (p > .05) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนี้ได้แก่ พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพควรส่งเสริมให้ผู้ป่วย ภาวะหัวใจวายมีการรับรู้เกี่ยวกับภาวะหัวใจวาย และการรับรู้เกี่ยวกับความรุนแรงของภาวะหัวใจวายเป็น อย่างดี เพื่อให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจวายนําความรู้ดังกล่าวไปลดความรุนแรงของภาวะหัวใจวายในระยะเบื้องต้นได้อย่างเหมาะสม ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความรุนแรงของภาวะหัวใจวาย และการจัดการกับภาวะหัวใจวาย  This correlational study was aimed to study factors related to perceived severity of heart failure in patients with congestive heart failure (CHF). The sample consisted of 197  CHF patients who followed up at outpatient department of Ayutthaya Hospital and at the heart clinic of Chaoprayayomrat Hospital. Data were collected from August through October 2008 by interviewing questionnaires including deinographic, eating behavior. Medication  adherence, exercise, illness representation of heart failure (about CHF), and perceived severity of heart failure. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and Spearman's rank coefficients. The results were as follows:  The majority of patients with congestive heart failure was female (59.9%), age between 60 - 79 year (53.3%), non employment (62.9% ) primary school completion (74.6%), and hypertensive history (48.22%). Patients perceived severity (of heart failure at a high level (M = 132.42. SD = 26.28). Only significant factor related to perceived severity of heart failure was the understanding of heart failure (r8 = - .5, p < .01). Non significant factors related to perceived severity of heart failure (p>.05) were eating behavior (r8 = -.07, p = .30), medication adherence (r8 = -.02, p = 83), exercise (r8 = .12, p = .09), and known cause of CHF (r8 = - .06, p = 43).  From the results of this study, nurses should promote better understanding and perceived severity of congestive heart failure to help patients to manage severity of congestive heart failure. Future research should explore relationships between perceived severity of congestive heart failure and management of congestive heart failure.

Downloads

Published

2021-12-16